การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว (The Creative of Southern Thai Folk Dance Provincial Flowers that appeared in the area of the Songkhla lake Basin for infor
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
กฤติยา ชูสงค์, อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์ |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2562 |
เลขหมู่: |
|
รายละเอียด: |
การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมผลการวิจัยพบว่าจังหวัดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดสงขลา ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกเฟื่องฟ้า 2) จังหวัดพัทลุง ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกพะยอม 3) จังหวัดนครศรีธรรมราช ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกราชพฤกษ์ คณะผู้วิจัยได้ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ จำนวน 3 ชุด คือ ระบำดอกเฟื่องฟ้า ระบำดอกพะยอม และระบำดอกราชพฤกษ์ ตามลำดับ โดยสร้างสรรค์ตามลักษณะของดอกไม้ประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัด เช่น สีของดอกไม้ทั้ง 3 ชนิด กำหนดให้เป็นสีของเครื่องแต่งกาย และออกแบบดอกไม้นำมาเป็นเครื่องประดับศีรษะ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงคือวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้เครื่อง 5 เรียบเรียงทำนองเพลงขึ้นใหม่เพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละจังหวัด เรียบเรียงโดยครูควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ.2553 กระบวนท่ารำแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สื่อถึงลักษณะของลำต้นและดอกไม้ ช่วงที่ 2 นำเสนอเกี่ยวกับสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด โดยนำเสนอผ่านรูปแบบการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
|
|
|