ฤทธิ์ต้านอนุมุลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะในพื้นที่จังหวัดสตูล

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะในพื้นที่จังหวัดสตูล 2 สายพันธุ์ คือ สานพันธุ์พื้นเมืองและสายพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยศึกษาในส่วนของ เนื้อ เมล็ด ขน เปลือก และแกน ทั้งผลสดและอบแห้งที่ 40 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ เมทานอล และเอทานอล ทำการทดสอบปริมาณฟีนอลิกโดยวิธี Folin-Ciocalteu ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS พบว่าส่วนต่าง ๆ ของจำปาดะมีปริมาณฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน โดยจำปาดะพันธ์พื้นเมืองส่วนของขนที่สกัดด้วยเมทานอล และจำปาดะพันธุ์น้ำดอกไม้ของเนื้อที่สกัดน้ำมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับ 29.755+0.036 ugGAE/100 g และ 29.522+0.067 ugGAE/100 g ตามลำดับ จำปาดะพันธุ์พื้นเมืองส่วนของเปลือกอบแห้งที่สกัดด้วยเมทานอล และจำปาดะพันธุ์น้ำดอกไม้ส่วนของเนื้ออบแห้งที่สกัดด้วยน้ำมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับ 48.736+0.053 ugGAE/100 gและ 57.906+0.526 ugGAE/100 gตามลำดับ จำปาดะพันธุ์น้ำดอกไม้ส่วนของแกนที่สกัดด้วยเอทานอลและจำปาดะพันธุ์พื้นเมืองส่วนของเปลือกที่สกัดด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH สูงที่สุดเท่ากับ 95.248+0.005 % และ 90.590+0.002 % ตามลำดับ จำปาดะพันธุ์พื้นเมืองส่วนของแกนอบแห้งที่สกัดด้วยเมทานอล และจำปาดะจำปาดะพันธุ์น้ำดอกไม้ส่วนของแกนอบแห้งที่สกัดด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH สูงสุดเท่ากับ 90.590+0.002 % และ 96.04+0.004 % ตามลำดับ ตัวทำละลายที่ดีที่สุดในการสกัด คือ เมทานอล และส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ ส่วนของแกน และเปลือก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)