รายละเอียด: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยภูมิปัญญาพันธ์ข้าว ภูมิปัญญาการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว ภูมิปัญญาเครื่องมือเครื่องใช้ ภูมิปัญญาโรคและศัตรูข้าว ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ข้าว และภูมิปัญญาพิธีกรรม และเพื่อศึกษาความเป็นเป็นไปได้ของการสื่อสารกระบวนทัศน์ช้าง 11 เชือก (Eleven Elephants Paradigm) ในการอธิบานส่งเสริมภูมิปัญญาข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ล่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ในอนาคต การวิจัยแบบผสมระหว่างการสัมภาษณ์เชิงลึก และเทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างพื้นที่ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบ ประกอบด้วย 3 จังหวัด 13 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอชะอวด คือ ปราชญ์เกษตรกร อำเภอละ 1 คน เป็นจำนวน 13 คน และผู้เชียวชาญที่เป็นนักวิชาการท่องเที่ยวและการสื่อสารหรือองค์การการท่องเที่ยวและการสื่อสารจากภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 17 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภูมิปัญญาข้าวที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากอดีตค่อนข้างมาก ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้เลือนหายไปและเปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาพันธุ์ข้าว, ภูมิปัญญาการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว, ภูมิปัญญาเครื่องมือเครื่องใช้, ภูมิปัญญาโรคและศัตรูข้าว, ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ข้าวและภูมิปัญญาพิธีกรรม นั้นลดความสำคัญลงไปอย่างมาก หรือไม่มีการกระทำพิธีกรรมเลย แต่อย่างไรก็ดี ก็มีความพยายามรักษาภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้าวไว้ในลักษณะของศูนย์การเรียนรู้ ที่ได้รับสนับสนุนจากภาครัฐร่วมมือกับภาคประชาชน
2. การสื่อสารกระบวนทัศน์ช้าง 11 เชือก อันประกอบด้วย ทฤษฎีความเป็นหนึ่งเดียว, ทฤษฎีหลักการสื่อสารสองทาง, ทฤษฎีตารางสามชั้นสามแนวของการสื่อสารเชิงบวก, ทฤษฎีสารเวลา, ทฤษฎีหลักห้าประการของวารสารศาสตร์แนวอนาคต, ทฤษฎีบทบาทหน้าที่ทั้งหกของสื่อมวลชนที่มีคุณค่า, ทฤษฎีตัวเอสเจ็ดตัวว่าด้วยความต้องการพื้นฐานของมนุษย์, ทฤษฎีแปดขั้นตอนของการสื่อสารองค์กรเชิงบูรณาการ, ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด 9 P, ทฤษฎีสิบกลุ่มประเภททางสังคมของผู้รับสารเป้าหมายและทฤษฎีหลัก 11 ประการของการสื่อสารองค์กร สามารถส่งเสริมภูมิปัญญาข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ในอนาคต |