การวิเคราะห์เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน : ทางฆ้องวงใหญ่ (The Analytical Study of Plaeng Ching Phra Chan Klang Wan : A Case study of Khong Wong Yai)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
กี จันทศร |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
เลขหมู่: |
|
รายละเอียด: |
เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน : ทางฆ้องวงใหญ่ ที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นของครูสุรินทร์ สงค์ทอง ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูบุญยงค์ เกตุคง (ศิลปินแห่งชาติ) สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ซึ่งเป็นทางเพลงของสำนักครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ที่นักดนตรีรู้จักกันในนาม “สำนักบ้านขมิ้น”
เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน เป็นเพลงที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณไม่ปรากฏนามผู้เรียบเรียง เป็นเพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง คือไม่มีจังหวะหน้าทับตีประกอบทำนองเพลง และเป็นการนำเอาเพลงฉิ่งอัตราจังหวะสองชั้น และชั้นเดียว ที่มีทำนองใกล้เคียงมาผูกเรียงร้อยเชื่อมต่อกันเป็นเพลงเรื่องใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขณะที่พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล ในปัจจุบันนักดนตรีไม่นิยมบรรเลงเนื่องจากทำนองเพลงจำยาก จึงทำให้เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวันกำลังสูญหายไป
ผลการวิเคราะห์จากทำนองเพลงของเพลงเรื่องฉิ่งพระฉันกลางวัน พบว่าประกอบด้วยเพลงฉิ่งจำนวน 13 เพลง โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นเพลงฉิ่งอัตราจังหวะสองชั้น จำนวน 10 เพลง ได้แก่ เพลงจิ้งจอกทอง เพลงตะท่าร่า เพลงท่าน้ำ เพลงฟองน้ำ เพลงฝั่งน้ำ เพลงมีลม เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงทะเลบ้า เพลงลอยถาด และเพลงพญาพายเรือ ช่วงที่สองเป็นเพลงฉิ่งอัตราจังหวะชั้นเดียว จำนวน 3 เพลง ได้แก่ เพลงมะตีมู และเพลงนกจิ้งโครง และช่วงสุดท้าย เป็นเพลงรัวฉิ่ง มีบันไดเสียง 6 เสียง ได้แก่ โด เร ฟา ซอล ลา และที มีลูกตบครบทุกเสียง มีลูกโยนเสียงหลัก 4 เสียง ได้แก่ เร มี ซอล และที มีการใช้มือฆ้องวงใหญ่หลายแบบ ได้แก่ ตีเป็นคู่เสียง (คู่สอง คู่สาม คู่สี่ คู่ห้า คู่แปด และตีถ่างมือคู่สิบ) ตีสะบัดขึ้นและลง ตีสะเดาะ ตีสลับมือ และตีแบ่งมือ และมีวิธีการบรรเลงโดยให้ฆ้องวงใหญ่ตีนำเพลงจิ้งจอกทอง |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
|
|
|