การศึกษาการเจริญเติบโตของไก่สาวและการประมาณกราฟการให้ผลผลิตไข่ของไก่เบตง (A Study on Growth of Pullets and Estimation of Egg Curve of Betong Hens)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ครวญ บัวคีรี, ปิยะนันท์ นวลหนูปล้อง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของระดับโปรตีน และพลังงานต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางการสืบพันธุ์ของไก่เบตงเพศมีระยะรุ่น และ 2) ทดสอบฟังก์ชั่นการใช้ผลผลิตไข่ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการประมาณกราฟการใช้ผลผลิตไข่ในไก่เบตง โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลองประกอบด้วย การทดลองที่ 1 ผลของระดับโปรตีนและพลังงานต่อการเจริญเติบโตของไก่เบตงเพศเมียระยะรุ่น โดยใช้ไก่เบตงเพศเมียอายุ 12 สัปดาห์ จำนวน 180 ตัว โดยวางแผนการทดลอง 2x3 แฟคทอเรียล ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (2X3 factorial in completely randomized design) โดยมี 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ระดับพลังงานใช้ประโยชน์ 2 ระดับ (2,850 และ 3,000กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมอาหาร) และระดับโปรตีน 3 ระดับ (14,16 และ 18 เปอร์เซ็นต์) จำนวนกลุ่มละ 3 ซ้ำๆละ 10 ตัว ผลการทดลองพบว่าไม่มีอันตรกิริยาร่วมของโปรตีนและพลังงานต่อน้ำหนักตัวเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร น้ำหนักรังไข่ น้ำหนักท่อนำไข่ และความยาวของท่อนำไข่ ของไก่เบตงเพศเมีย (p<0.05) สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ 2,850 และ 3,000กิโลแคลอรี/กิโลกรัมอาหาร ไม่ส่งผลให้น้ำหนักตัวเฉลี่ยและปริมาณอาหารที่กินของไก่เบตงเพศเมียแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารตลอดการทดลองของไก่เบตงเพศเมียกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีพลังงาน 2,850 กิโลแคลอรี/กิโลกรัมอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)และยังพบว่าผลของอาหารที่ระดับโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 2,850กิโลแคลอรี/กิโลกรัมอาหาร มีผลให้ไก่มีจำนวนกระเปาะไข่ขนดเล็กมากกว่าทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่ 2 การทดสอบฟังก์ชันการใช้ผลผลิตไข่ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการประมาณกราฟการให้ผลผลิตไข่ในไก่เบตง ใช้ข้อมูลการใช้ผลผลิตไข่ในไก่เบตง อายุระหว่าง 21 – 60 สัปดาห์ ที่เลี้ยงบนกรงตับ ทำการทดสอบฟังก์ชันการให้ผลผลิตไข่ที่เหมาะสม 3 ฟังก์ชัน ประกอบด้วย LeGendre function, Wilmink function และ Koop and Grossman function พบว่า ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐาน (MSE) ของ LeGendre function, Wilmink function และ Koop and Grossman function มีค่าใกล้เคียงกัน (48.0419,48.1228 และ 48.0916) อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธ์การตัดสินใจ (R2) พบว่า ฟังก์ชันการให้ผลผลิตของ Koop and Grossman functionมีค่าสูงสุด (0.683) ดังนั้นฟังก์ชันการให้ผลผลิตของไข่ของ Koop and Grossman functionจึงมีความเหมาสมที่จะนำไปใช้ในการประมาณกราฟการให้ผลผลิตไข่ไก่เบตง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)