พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ของผู้บริโภคเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จิราภรณ์ ทองบุญยัง, สมสวัสดิ์ มาลาทอง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จากส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) จำแนกตามประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ OTOP กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่ซ้อผลิตภัณฑ์ OTOP ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20-29 ปี มากที่สุด เกือบครึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพสมรส ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท และประชาชนที่ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว เป็นกลุ่มอาชีพที่มีการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP มากที่สุด พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ส่วนใหญ่มีการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทอาหารมากที่สุด มีสาเหตุในการซื้อเพื่อใช้อุปโภคเอง ซึ่งจำนวนเงินที่ใช้ซื้อเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ระหว่าง 101-200 บาท และในการซื้อแต่ละครั้งผู้บริโภคมักไม่มีการวางแผนการซื้อมาก่อน โดยส่วนใหญ่มักซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จากงานแสดงผลิตภัณฑ์ แลได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ OTOP จากเพื่อ/ญาติ/คนรู้จัก มากที่สุดถึงร้อยละ 63.90 โดยส่วนใหญ่แล้วบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ คู่สมรส ลูก จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่าปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) ด้านผลิตภัณฑ์ (Avg=3.89) ด้านสถานที่การจัดจำหน่าย (Avg=3.83 ด้านราคา (Avg=3.62) มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาด (Avg=3.49) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับปานกลาง จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จากส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 ดังนี้ เพศที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จากส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ และสถานที่จัดจำหน่าย อายุที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จากส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) แตกต่างกันในด้านสถานที่จัดจำหน่าย สถานภาพที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จากส่วนผสมทางการตลาด (4Ps) แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)