โครงการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาตัวชี้วัดการจัดการทรัพยากรต้นตาลเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอสทิงพระ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาองค์ประกอบของต้นตาลโตนดที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอสทิงพระ 2.เพื่อประเมินศักยภาพการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่ผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ต้องอาศัยความรู้จากผู้มีส่วนได้เสียหลายภาคส่วนภายในท้องถิ่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มประกอบการผลิตภัณฑ์โตนด ตัวแอนภาครัฐ ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคเอกชน ช้าง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมภาษณ์ การสังเกต แบบสอบถาม การบันทึกและแบบประเมิน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่าตาลโตนดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยังคงมีปริมาณที่มากพอต่อการพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับตาลโตนด ในอำเภอสทิงพระ และการสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น ชุมชน ในการพัฒนาทรัพยากรต้นตาล มีตัวชี้วัดศักยภาพที่สำคัญอยู่ 2 ประการ ได้แก่ 1.จำนวนประชาชนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตาลโตนด 2.จำนวนและคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากตาลโตนด โดยอาศัย ภาคส่วนที่สำคัญ สามส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และผู้ประกอบการ |