องค์ความรู้และแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้จากรายการโทรทัศน์ครู

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ปรีดา เบ็ญคาร, ณรงค์ กาญจนะ, จงกล บัวแก้ว, นิพัทธา ชัยกิจ, ณิชภัทร ชัยวรากรณ์, อังคณา อุทัยรัตน์, เกวลิน ชัยณรงค์, เขมนิจ วัฒนทินโชติ, กมลทิพย์ สมบูรณ์พงษ์

สำนักพิมพ์: 

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้จากรายการโทรทัศน์ครู แหล่งข้อมูลเป็นรายการโทรทัศน์ครูจำนวน 60 ตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสรุปองค์ความรู้และแนวคิดจากรายการโทรทัศน์ครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการแจกแจงความถี่และสังเคราะห์ได้เป็นองค์ความรู้และแนวคิดที่สำคัญด้านการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า สังเคราะห์ได้องค์ความรู้และแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้ 40 ประเด็น ประเด็นที่นำเสนอมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การใช้คำถามและพัฒนาทักษะการคิด เทคนิคพื้นฐานที่กระตุ้นให้นักเรียนคิดก็คือ การใช้คำถามครูสามารถสร้างกิจกรรมได้อย่างหลากหลายที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน ให้นักเรียนได้มีโอกาสตั้งคำถาม สร้างโจทย์ปัญหาเอง คาดเดาคำตอบเอง สร้างชื้นงานเอง คิดจินตนาการ ค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ระดมสมองกับเพื่อน แสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกับ 2) การใช้สื่อ สื่อที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องราคาแพง ความคิดสร้างสรรค์ของครูสำคัญที่สุด ซึ่งสามารถเปลี่ยนของดูธรรมดาให้เป็นสื่อการสอนที่ดีมากได้ การใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของนักเรียน เช่น วัสดุ อุปกรณ์ บุคคลและสถานที่ต่างๆ ในท้องถิ่นมาเป็นสื่อการเรียนรู้ จะทำให้นักเรียนสัมผัสและได้เห็นของจริง นักเรียนจะเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจเนื้อหาที่จะสอนได้ง่ายขึ้น ครูควรใช้สื่อที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้อยากหลากหลาย 3) การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ที่ดีคือ การได้ฝึกปฏิบัติ ได้มีโอกาสวางแผน คิดและตั้งคำถามที่น่าสนใจ แก้ปัญหาและประเมินผลงานตนเองและของเพื่อน รวมทั้งได้เรียนรู้กระบวนการและสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะ 4) ด้านการสร้างเจคติที่ดีต่อการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข นักเรียนมีความสุขและมีเจคติที่ดีต่อการเรียนรู้เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สนุกสนาน สอดคล้องกับความสนใจ ได้ร้องเพลง ได้ถามในสิ่งที่พวกเขาอยากรู้ ทำในสิ่งที่อยากทำ ตื่นเต้นกับการเรียนรู้ ได้แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติและทำงานร่วมกับครู ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้โอกาสกับเวลาและนักเรียน สอนอย่างเป็นขั้นตอน ใจเย็น ไม่เร่งรัดนักเรียนเกินไป รวมทั้งใจดีและเป็นกันเองกับนักเรียน ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนอบอุ่น นอกจากนี้ ครูต้องเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 5) ด้านการกระตุ้นความใส่ใจของนักเรียนและให้นักเรียนมีส่วนร่วม การตกแต่งห้องเรียนเพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าได้อยู่ในสถานการณ์จริงในเรื่องนั้นๆ จะทำให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวามากขึ้น การใช้กิจกรรมที่แปลกใหม่ การให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะเรียน จะทำให้นักเรียนตื่นเต้นและสนใจเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้เกมการแข่งขัน ละคร หนังสั้น การเล่าเรื่อง โจทย์ท้าทาย การปฏิบัติจริง การเปิดโอกาสให้ห้องเรียนเป็นเวทีสำหรับการแสดงออกของนักเรียน การเรียนรู้นอกสถานที่

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)