การจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (Management of Foreign Workers in the Establishmen of the Seafood Production Industry In Muang District, Songkhla Province)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

พิราสินี ชัยคุณทวีโชติ, มาธุรี อุไรรัตน์, สายฝน ไชยศรี, วรสันต์ ถาวรประเสริฐ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของแรงงานไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวและศึกษาแนวทางจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มแรงงานไทย จำนวน 275 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลในสถานประกอบการ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า แรงงานไทยที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.6 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ม.4-ม.6 / ปวช. มีช่วงเวลาการทำงานระหว่าง 08.00 - 17.00 น. มีระยะเวลาในการทำงาน 1-5 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งระดับปฏิบัติการ มีรายได้ต่อเดือน 10,000 บาทขึ้นไป ลักษณะงานเป็นงานรายวันมากที่สุด และส่วนใหญ่พอใจกับงานที่ทำ ความคิดเห็นของแรงงานไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.35 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ คิดว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.55 สำหรับความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ สถานประกอบการควรอบรมความรู็ให้กับแรงงานต่างด้าว มีค่าเฉลี่ย 4.15 สถานประกอบมีหน่วยงานดูแลแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ มีค่าเฉลี่ย 4.01 นายจ้างให้คำปรึกษาที่ดีเมื่อแรงงานต่างด้าวมีปัญหา มีค่าเฉลี่ย 3.87 ส่วนความคิดเห็นที่อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ แรงงานต่างด้าวมีความจงรักภักดีต่อสถานประกอบการ มีค่าเฉลี่ย 2.32 และแรงงานต่างด้าวไม่ก่อปัญหาความวุ่นวายแก่สถานประกอบการ มีค่าเฉลี่ย 2.21 จากการสัมภาษณ์ปัญหาจากแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการพบว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่ค่อยมีฝีมือ แรงงานบางส่วนขี้เกียจ บางส่วนขยันมีความรับผิดชอบ ประสิทธิภาพของผลงานจึงไม่ค่อยมีคุณภาพ แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการมีการร้องเรียนเรื่องค่าตอบแทน และบางครั้งแรงงานต่างด้าวมีปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งเล็กน้อยกับแรงงานไทย สำหรับแนวทางจัดการแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการได้แก่ทางสถานประกอบการมีการจัดค่าจ้างและสวัสดิการให้กับแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกับที่แรงงานไทยได้รับ รวมถึงด้านการบังคับใช้กฏเกณฑ์ การลงโทษ ระเบียบต่างๆในการปฏิบัติงานด้วย และสถานประกอบการมีการจัดให้ฝ่ายบุคคลทำหน้าที่ดูลให้คำปรึกษา แนะนำแก่แรงงานต่างด้าวในองค์กร

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)