การส่งเสริมการตลาดที่ีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สิริกันยา โชติช่วง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการส่งเสริมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสงขลา เพื่อทราบถึงรูปแบบการส่งเสริมการตลาดใน 4 รูปแบบ อันได้แก่ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การขายโดยใช้พนักงานขาย และการประชาสัมพันธ์ ว่ารูปแบบใดของการส่งเสริมการตลาดที่มีรูปแบบที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่ซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นในเขต จังหวัดสงขลาจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างการทดสอบค่าที (T-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of Variance) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD : Least Significant Difference และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า และด้านระยะเวลาต่อครั้งของการไปซื้ัอสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผู้บริโภคที่มีอายุต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า ด้านจำนวนคนต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า 3. ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก และด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ผู้บริโภคที่มีสถานภาพต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า ด้านจำนวนคนต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า ด้านระยะเวลาต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า และด้านจำนวนเงินต่อครั้งต่อการไปซื้อสินค้า ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5. ผู้บริโภคที่มีอาชีพต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า ด้านจำนวนครั้งต่อเดือนของการไปซื้อสินค้า ด้านระยะเวลาต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า และด้านจำนวนเงินต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6. ผู้บริโภคที่มีรายได้เแลี่ยต่อเดือนต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซ์้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า ด้านจำนวนครั้งต่อเดือนของการไปซื้อสินค้า และด้านระยะเวลาต่อครั้งของการไปซื้อสินค้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7. การโฆษณาของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า และด้านจำนวนเงินต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า ที่ความแตกต่างกันอน่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 8. การส่งเสริมการขายของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า และด้านจำนวนเงินต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 9. การขายโดยใช้พนักงานขายของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าและด้านจำนวนเงินต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 10. การประชาสัมพันธ์ของห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ในด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าแต่ะละแผนก ด้านเหตุผลของการไปซื้อสินค้า และด้านจำนวนเงินต่อครั้งของการไปซื้อสินค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)