การศึกษาพัฒนาการทางกายภาพของทะเลสาบสงขลาและคาบสมุทรสะทิงพระจากแผนที่โบราณและจากการกำหนดอายุจากซากฟอสซิลด้วยเทคนิคคาร์บอน 14 ( The Study of Physical Evolution of Songkhla Lake Basin and Sating-Pra Peninsula from Ancient Map and the Prediction from Fossil b

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

บรรจง ทองสร้าง, ชาญยุทธ ฟองสุวรรณ, เสรี เรืองดิษฐ์

สำนักพิมพ์: 

งบประมาณแผ่นดิน(วช.)

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลแบบลากูน(Lagoon) ที่มีแนวสันทรายของคาบสมุทรสทิงพระแบ่งระหว่างทะเลสาบกับอ่าวไทย พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระเป็นสันทรายเชื่อมเกาะที่เกิดจากการพัดถมของตะกอนทะเลเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง และตะกอนจากแผ่นดินใหญ่ฝั่งตะวันตก ผลการศึกษาจากแผนที่โบราณพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและคาบสมุทรสะทิงพระมีลักษณะทางกายภาพเหมือนกับปัจจุบันมาอย่างน้อยตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา และจากการขุดเจาะพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระบริเวณพบว่า ชั้นบนสุดเป็นตะกอนเนื่องจากน้ำจืดจากแผนดินไหวใหญ่ฝั่งตะวันตกมีความหนา 2.15 เมตร ชั้นถัดลงไปเป็นชั้นทรายหยาบปนดินเหนียวพบซากฟอสซิลหอยแครงขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับชั้นอื่น ๆ ชั้นถัดลงไปเป็นตะกอนทะเลสาบมีลักษณะเป็นดินโคลนทะเลสลับกับชั้นทรายละเอียด ในชั้นทรายละเอียดพบซากฟอสซิลสัตว์ทะเลจำพวกหอยอยู่ที่ระดับความลึกเมื่อเทียบกับน้ำทะเลเท่ากับ +2.00 เมตร,+1.15 เมตร,+0.55 เมตร, +0.11 เมตร และ -0.43 เมตร เมื่อหาอายุของซากฟอสซิลด้วยเทคนิคคาร์บอน 14 พบว่ามีอายุ 7,030+- 360 ปี,6,540+-340 ปี,6,630+- ปี, 3960+-340 ปีและ 10,160+-700 ปี ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์พบว่าในยุคเริ่มต้นของสมัยโฮโลซีนพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังเป็นทะเลเนื่องจากพบซากฟอสซิลหอยที่มีอายุ 10,160 +- 700 ปี ซึ่งเป็นช่วงต้นของสมัยยุคโฮโลซีน หลังจากนั้นเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง 3 ครั้ง และครั้งสุดท้ายอาจจะเกิดกระแสน้ำทะเลที่แรงพัดเข้าฝั่งและพาซากฟอสซิลหอยขนาดใหญ่และทรายหยาบจากทะเลมาทับบนชั้นทะกอนดินโครนเมือหลัง 6,540 ปี หลังจากนั้นน้ำทะเลถอยกลับและตะกอนจากแผนดินใหญ่เข้ามาทับถมก่อต้วเป็นพื้นดินของคาบสมุทรสทิงพระ ดังนั้นทะเลสาบสงขลาเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 6,540 ปีล่วงมาแล้ว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)