แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 (Guidlines for the management of cultural tourism to promote the conservation of local wisdom of buffalo kite in Satun province

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว 338.4791 ท37น

รายละเอียด: 

แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ภายใต้นโนบายไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาพฤดิกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล และ 3)เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ภายใต้ นโยบายไทยเลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) มีการดำเนินการศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์ และแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และมีผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย กลุ่มผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านว่าวควาย ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ภายใต้ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วยการพัฒนา ปัจจัยที่สำคัญ 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย ปัจจัยที่ 1) การรวบรวมภูมิปัญญาและการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ประกอบด้วย 1.1 จัคตั้งคณะคำเนินการรวบรวมภูมิปัญญาและการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสดูล 1.2 ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับว่าวควาย 1.3 สร้างกระบวนการจัคการความรู้ในลักษณะเครือข่ายในทุกระดับ ปัจจัยที่ 2) การสร้างกลไกการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ประกอบด้วย 2.1 สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจ 2.2 เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ท้องถิ่น ของเยาวชนในทุกระดับสำหรับการศึกษาขั้น ปัจจัยที่ 3 การบริหารจัดการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควาย ประกอบด้วย 3.1 เชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่จังหวัดสตูล 3.2 การจัดมหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติภายใต้อัตลักษณ์ 3.3 จัดสถานที่สำหรับการเรียนรู้เรื่องราวว่าวควาย ปัจจัยที่ 4) การสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ หมายรวมถึงการทำการประชาสัมพันธ์ และการตลาดทางการท่องเที่ยว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำว่าวควายจังหวัดสตูล ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0