การสำรวจปริมาณไมโครพลาสติกในน้ำบริเวณคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ( Quantification survey of microplastics in water of Samrong Canal, Mueang district, Songkhla province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

อับดุลการีม นิโด, สัณหณัฐ มณีรัตน์

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2565

เลขหมู่: 

ว 363.794 อ115ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณไมโครพลาสติก และตรวจสอบลักษณะทางกายภาพได้แก่ รูปร่าง สี และขนาดของไมโครพลาสติกในน้ำ บริเวณคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาโดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำจากคลองสำโรงทั้งหมด 5 จุด ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ประกอบกอบด้วยบริเวณต้นน้ำ (5 1), บริเวณคลองแยกเป็นสองสาย (S2), บริเวณปากคลองฝั่งทะเลอ่าวไทย (S3), บริเวณโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนหนาแน่น (S4), บริเวณปากคลองฝั่งทะเลสาบสงขลา (S5), กิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีความหลากหลายทางด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และแหล่งชุมชน เป็นต้น วิเคราะห์น้ำตัวอย่างโดยการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ นำมาแยกไมโครพลาสติกโดยใช้โซเดียมคลอไรด์ จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณและลักษณะทางกายภาพของไมโครพลาสติกด้วยกล้องจุลทรรศน์ ผลการสำรวจพบปริมาณการปนเปื้ อนของไมโครพลาสติกในน้ำคลองสำโรงในทุกจุดเก็บตัวอย่าง พบปริมาณของไมโครพลาสติกทั้งหมดเฉลี่ย 1 77 : 14. 16 ชิ้น/ลิตร พบไมโครพลาสติกในแต่ละรูปร่างจากมากไปน้อยได้แก่ รูปร่างเส้นใย (ร้อยละ 33.15) ไร้รูปแบบ (ร้อยละ 29.38) แผ่น (ร้อยละ 26.18) แท่ง(ร้อยละ 9.23) และทรงกลม (ร้อยละ 2.07 ตามลำดับ พบสีของไมโครพลาสติกทั้งหมด 10 สี จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ สีดำ สีขาวใส สีน้ำตาล สีเทา สีฟ้า สีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีขาวขุ่น และสีเขียวตามลำดับ โดยขนาดของไมโครพลาสติกที่พบทั้งหมดนั้นอยู่ในช่วง 0.01-3.82 มิลลิเมตร

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การสำรวจปริมาณไมโครพลาสติกในน้ำบริเวณคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา