ปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทยที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จิราวรรณ นาคสีทอง, สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง

สำนักพิมพ์: 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2564

เลขหมู่: 

495.115 จ37ป

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทยที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบทดสอบการอ่านออกเสียงพินอิน และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิซาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ที่พูดภาษามลายถิ่นเป็นภาษาแม่ จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบปัญหา 3 ประการคือ 1. ด้านการออกเสียงพยัญชนะ กลุ่มตัวอย่างมีความสับสนในการจดจำพยัญชนะพินอิน b, P, t, d. 9. k. ch. sh. 2h 2. ต้านการออกเสียงสระ กลุ่มตัวอย่างมี ออกเสียงสระ d, ao, an, ang, ou, ong, eng, er, ie, iang,iong, -i, uo, uai, uang,uan un 3. ด้านการออกเสียงวรรณยุกต์ เป็นด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาในการออกเสียงมากที่สุด ได้แก่ วรรณยุกต์ เสียงที่ 3 วรรณยุกต์เสียงที่ 1 และ วรรณยุกต์4 ส่วนวรรณยุกต์ที่ผิดพลาดน้อยที่สุดคือเสียงที่ 2 นอกจากนี้ยัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างไม่สามารถออกเสียงพยางศ์ที่มีวรรณยุกต์เสียง 3 อยู่ติดกัน คำที่มีวรรณยุกต์เสียงเบา และเสียงวรรณยุกต์ของคำว่า y ( -) และ bu ( 不 ได้อย่างถูกต้อง ปัจจัยที่ส่งผลให้ออกเสียงภาษาจีนผิดพลาด สรุปได้ 3 ประเด็นคือ 1) การถูกแทรกแชงจากภาษาแม่ 2) การได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษที่ผู้เรียนได้เรียนมาก่อนภาษาจีน 3) การไม่สามารถจดจำกฎของระบบสัทอักษรจีนได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทยที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน