การพัฒนาชุดความรู้ " เรื่องเล่าเรา--เขารูปช้าง" เพื่อสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนในตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา : รายงานการวิจัย (Knowledge package development "Storytelling of Khaoroopchang" to enhance learning for youth of KHAOROOPCHANG Sub-Distr

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศดานนท์ วัตตธรรม, บุณิกา จันทร์เกตุ, สิทธิพร ศรีผ่อง, โชติกา รติชลิยกุล, วรวรรณ สุขใส, พัชราวสดี อักษรพิมพ์, อมรรัตน์ จิรันดร

สำนักพิมพ์: 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2565

เลขหมู่: 

ว.959.3 ก27

รายละเอียด: 

ศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพบริบทพื้นที่ของตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา 2) ออกแบบและจัดทำชุดความรู้ "เรื่องเล่าเรา...เขารูปช้าง" และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมของชุดความรู้ "เรื่องเล่าเรา...เขารูปช้าง" ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการสำรวจสภาพบริบทพื้นที่ของตำบลเขารูปช้าง และการร่วมออกแบบและจัดทำชุดความรู้ ทางด้านประวัติศาสตร์ ด้านกายภาพและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ และด้านศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์จำนวน 5 คน และการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 16 คน โดยวิธีการกำหนดแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้เชี่ยวซาญ ผู้มีประสบการณ์ และปราชญ์ชุมชน และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ ในการตรวจสอบความเหมาะสมของชุดความรู้ โดยกลุ่มนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญนการเขียนชุดเรื่องเล่า จำนวน 3 คน โดยวิธีการกำหนดแบบเฉพาะเจาะจง และนำผลที่ได้มาประเหาค่าตัชนีความสอดคล้องที่ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพบริบทพื้นที่ของตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาประกอบไปด้วย 1.1) ด้านประวัติศาสตร์ สืบเนื่องจากทวดลักเก้าที่จะเดินทางไปร่วมสร้างเจดีย์ที่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นจุดแวะบนเส้นทางจากดินแดนทางใต้ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของชุมชนเขารูปช้างที่มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัย 1.2) ด้านกายภาพและทรัพยากรธรรมชาติ ตำบลเขารูปช้างเป็นที่ราบ ที่ราบสูงที่ราบลุ่มนาข้าว มีคลองสำโรง และมีเขาหินอัคนี คือ เขาเทียมดา และเขาสำโรง เป็นแนวแบ่งอาณาเขต1.3) ด้านวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ ค้าขาย และเกษตรกรรม และ 1.4) ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว เป็นชุมชนหนึ่งที่มีเอกลักษณ์แสดงถึงความเป็นถิ่นไทยใต้อย่างโดดเด่น และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ การเรียนรู้ และนันทนาการ 2) ออกแบบและจัดทำชุดความรู้ "เรื่องเล่าเรา...เขารูปข้าง" ประกอบไปด้วย 2.1) ด้านเนื้อหา ควรเพิ่มข้อมูลในเชิงปัจจุบันทั้งแหล่งท่องเหี่ยวทางประวัติศาสตร์วิถีชีวิต และกิจกรรมการท่องเที่ยงประจำปี และ 2.2) ด้านรูปแบบชุดความรู้ จะจัดทำเป็นรูปเล่มขนาดA5 จำนวน 90 หน้า โดยผ่านการสมมติตัวละครให้เป็นเยาวชนในพื้นที่ และเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยมาวชน และ 3 ตรวจสอบความหมาะสมของชุดความรู้ "เรื่องเล่าเรา...รูปช้าง" พบว่า มีความหมาะสมใน 4 ประเด็น ได้แก่ ความครบถ้วนในเชิงวิชาการ ความหมาะสมของวิธีการเขียนเรื่องเล่า ความน่าสนใจของริสึการเล้าเรื่อง และความทันสมัยของเนื้อหาในการถ่ายหอด และมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก็ใช่ จำนวน ! ประเด็น ได้แก่ ความสมบูรณ์ตามแหล่งข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยได้มีการปรับแก้ไข โดยการเพิ่มเติมการอ้างอิงแหล่งที่มาในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาชุดความรู้ " เรื่องเล่าเรา--เขารูปช้าง" เพื่อสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนในตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา