ผลการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกมที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ชนาภรณ์ แก้วพิทักษ์

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2565

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม 5) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) ปีการศึกษา 2564 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย 3) แบบทดสอบ วัดความสามารถในการเขียนภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับเกม จำนวน 10 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 5.00 2) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับ เกม สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 6) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ร่วมกับเกม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4 MAT) ร่วมกับเกมที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3