การจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเขียนโปรแกรม วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (LEARNING MANAGEMENT USING 7E INQUIRY LEARNING WITH E-LEARNING LESSONS

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

นิจชนันท์ ชูศรี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2565

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง กับเกณฑ์ร้อยละ 80 4) เปรียบเทียบทักษะการเขียนโปรแกรม ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง 5) เปรียบเทียบทักษะการเขียนโปรแกรมหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง กับเกณฑ์ร้อยละ 80 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/9 (โครงการพิเศษ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวิเชียรชม จังหวัดสงขลา จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 36 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนโปรแกรม และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ทักษะการเขียนโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ทักษะการเขียนโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (SD=0.54)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (7Es) ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง