ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม JHCIS ของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ปัญจณต ธีรกุล

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2565

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม JHCIS ของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา จำนวน 363 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเก็บแบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผู้วิจัยทำการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงวันที่ 19 มกราคม – 30 กันยายน 2565 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน ร้อยละ 81.30 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 35.50 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 61.20 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 89.80 มีรายได้เฉลี่ย 40,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 26.40 ส่วนใหญ่ตำแหน่งงานนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 36.10 มีประสบการณ์การทำงาน 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.80 และมีระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล 10-14 ปี ร้อยละ 40.80 ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.01ระดับการสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 การทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงานในปัจจุบัน ประสบการณ์การทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม JHCIS ของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ .05 และในส่วนของระดับการศึกษา ระยะเวลาในการใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูล การสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม JHCIS ของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม JHCIS ของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดสงขลา