ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (THE EFFECT OF EXTRA-CURRICULAR ACTIVITIES BASED ON KODALY S THEORY WITH MULTIMEDIA ON LEARNIN

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พิเศษชาย คณะทอง

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2566

เลขหมู่: 

ว.พ.372.87 พ38ผ 2566

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสมกับเกณฑ์ร้อยละ 80
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีโคไดร่วมกับสื่อประสมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีโคไดร่วมกับสื่อประสมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีโคไดร่วมกับสื่อประสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: แนวคิดทฤษฎีของโคได, สื่อประสม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยใช้แนวคิดทฤษฎีของโคไดร่วมกับสื่อประสม