การประเมินผลโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันราชภัฏสงขลา : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

หนังสือประกอบการเรียนการสอน

ผู้แต่ง: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การประเมินโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบัน ราชภัฏสงขลา เป็นการประเมินเพื่อสรุปผลการดําเนินงานของศูนย์วิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการบริหารศูนย์วิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา ประเมินการดําเนิน กิจกรรมตามภารกิจที่กําหนดของโครงการ พวส. และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ พวส. ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ข้อมูลจากเอกสารรายงานต่าง ๆ ของสํานักงานสภาสถาบัน ราชภัฏ ศูนย์วิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา ข้อมูลจากการทดสอบและสอบถามกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาการศึกษา สายวิทยาศาสตร์และข้อมูลจากการสอบถาม และสัมภาษณ์ กลุ่มครูมัธยมศึกษาที่ร่วมกิจกรรม ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ ผู้บริหารสถาบันราชภัฏสงขลาที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินสรุป ดังนี้ 1. การบริหารศูนย์วิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา มีโครงสร้างการบริหารงานและระบุ ภารกิจของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน มีงบประมาณสนับสนุนจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และโครงการเงินกู้ธนาคารโลก จากการสํารวจความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาการศึกษา สายวิทยาศาสตร์ พบว่า อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการบริหารศูนย์ วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าการบริหารศูนย์วิทยาศาสตร์ มีการบริหาร งานอยู่ในระดับเป็นไปตามเกณฑ์เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารและภาระงานในแต่ละฝ่าย ร A 2. การดําเนินงานของศูนย์วิทยาศาสตร์ตามภารกิจ พบว่า การดําเนินงานที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กําหนด คือ การศึกษาต่อของอาจารย์และบุคคลทั่วไปในระดับปริญญาโท การอบรมหลักสูตรระยะสั้น ภายในประเทศ ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการสอน (40 ชุด) ผลงานวิจัยที่สําเร็จ และการให้บริการวิชา การชุมชน 3. ผลกระทบที่เกิดจากโครงการ พวส. ด้านการเรียนการสอน เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน ในบางโปรแกรมวิชา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีการปรับปรุง การเรียนการสอน มีการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น แต่การใช้ในการวิจัยค่อน ข้างน้อย ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด การรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์ คือ มีอัตราการเพิ่มไม่ คงที่และมีจํานวนน้อย ผลกระทบที่เป็นไปตามเกณฑ์ คือ ครูมัธยมศึกษาที่ร่วมกิจกรรมโครงการ พวส. ได้นําความรู้ที่ได้จากการอบรม การวิจัย และการปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์สถาบันราชภัฏ ไปใช้ในการ พัฒนา การเรียนการสอน โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนในรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญ มีการฝึกทดลอง ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนากระบวนการคิด ส่วน กิจกรรมที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ยังมีการดําเนินการต่อเพื่อแสดงถึงความยั่งยืนของโครงการ คือ การ สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การอบรมครู รวมทั้งการทํางานร่วมกับครู มัธยมศึกษา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการประเมิณ

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการประเมินและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

(นักศึกษา และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเท่านั้น ที่อ่านเอกสารฉบับเต็มประเภทหนังสือประกอบการเรียนการสอนได้)