การตรวจหาจำนวนฟีคัลโคลิฟอร์มในน้ำหวานชนิดต่าง ๆ ของโรงอาหารภายในสถาบันราชภัฏสงขลา : รายงานวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เมตตา เพชรชู, สุภารัตน์ ภาสโร

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2545

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

ผลจากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำหวานชนิดต่างๆ จํานวน 46 ตัวอย่างจากโรงอาหาร ทั้ง 4 จุดบริการ ภายในสถาบันราชภัฏสงขลา โดยทําการวิเคราะห์เปรียบเทียบจากตารางดรรชนี MPN ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 214) พ.ศ. 2543 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ได้กําหนดว่าน้ําที่ได้มาตรฐานต้องมีค่าของฟีคัลโคลิฟอร์มน้อยกว่า 2.2 MPN/100 ml. จากการทดลองเปรียบ เทียบโรงอาหารทั้ง 4 จุดบริการ พบว่าน้ำที่ได้มาตรฐานจากโรงอาหารใกล้กับหอประชุม 1 (ร้านที่ 1) ได้แก่ น้ำชามะนาว และน้ำส้ม จากโรงอาหารใกล้กับหอประชุม 1 (ร้านที่ 2) ได้แก่ น้ำชามะนาว น้ำมะนาว น้ำลําใย น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำส้ม จากโรงอาหารซึ่งอยู่ติดกับเรือนพยาบาลเก่า (สโมสร) ได้แก่ น้ำส้ม น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำโอเลี้ยง จากโรงอาหารใกล้กับอาคาร 9 ติดกับศูนย์อาหาร ได้แก่ น้ำส้ม และน้ำชามะนาว ส่วนศูนย์อาหาร ได้แก่ น้ำส้ม และน้ำชามะนาว และจากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แต่ละโรงอาหาร พบว่า โรงอาหารที่ได้มาตรฐานมากที่สุดคือ โรงอาหารใกล้กับหอประชุม 1 (ร้านที่ 2) รองลงมา คือ โรงอาหารซึ่งอยู่ติดกับเรือนพยาบาลเก่า (สโมสร) นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ระหว่างโรงอาหารที่จําหน่าย น้ำหวานชนิดเดียวกัน ได้แก่ น้ำลิ้นจี่ น้ำมะพร้าว น้ำชาดําเย็น น้ำส้ม น้ำโอเลี้ยง และน้ำลําใย พบว่า น้ำส้ม เป็นน้ำที่มีจํานวนฟิคัลโคลิฟอร์มน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหวานชนิดอื่นๆ ดังนั้นจากการทดลอง เรื่อง การตรวจหาจํานวนฟิคัลโคลิฟอร์มในน้ําหวานชนิดต่างๆ ของโรงอาหาร ทั้ง 4 จุดบริการภายในสถาบันราชภัฏสงขลา สามารถสรุปได้ว่าโรงอาหารที่จําหน่ายน้ำหวานในสถาบันราชภัฏ สงขลาที่ได้มาตรฐานมากที่สุดคือ โรงอาหารใกล้กับหอประชุม 1 (ร้านที่ 2) รองลงมาคือ โรงอาหารซึ่งอยู่ติดกับ เรือนพยาบาลเก่า (สโมสร) ส่วนน้ำหวานที่พบ การปนเปื้อนน้อยที่สุดคือ น้ำส้ม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการทดลอง

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก