การศึกษาอิทธิพลของสาร BA (Benzyladenine) และ TDZ (Thidiazuron) ต่อการเกิดยอดรวมของกฤษณา (Aquilaria malaccensis) ที่เลี้ยงในสูตรอาหาร MS เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สามารถ วรรณสะโร, เจตตะพงษ์ ชิตมณี

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2545

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การศึกษาอิทธิพลของ BA(Benzyladenine) และ TDZ(Thidiazuron) ต่อการเกิดยอดรวม ของกฤษณาที่เลี้ยงในสูตรอาหาร MS (Murashige and Skoog, 1962) ในสภาพปลอดเชื้อ วางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) นําตายอดตาข้างของกฤษณาที่ปลอดเชื้อมาทดลองใช้ BA ในระดับความเข้มข้น 0.0, 1.0, 2.0 และ 3.0 ใช้ TDz ในระดับความ เข้มข้น 0.1 , 0.3 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร รวม 7 สิ่งทดลอง 4 ซ้ํา ๆละ5 ขวด รวม ทั้งหมด 112 ขวด เป็นเวลา 115 วัน จากการทดลอง ผลปรากฏว่า ตายอดตาข้างของกฤษณาเมื่อเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนําให้เกิดจํานวนยอด จํานวนใบ และ ความสูงของต้น ได้ค่าเฉลี่ย 10.29 ยอดต่อต้น 29.28 ใบต่อต้น และ3.04 เซนติเมตร รองลงมาคือ ที่ใช้ TDZ ความเข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร มีจํานวนยอด จํานวนใบ และความสูงของต้นเฉลี่ย เท่ากับ 5.38 ยอดต่อต้น 24.19 ใบต่อต้น และ 2.73 เซนติเมตรตามลําดับ ที่ใช้ BA ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มีจํานวนยอด จํานวนใบ และความสูงของต้นเท่ากับ 5.27 ยอดต่อต้น 23.15 ใบต่อต้น และ 2.50 เซนติเมตร ที่ไม่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า ทุกสิ่งทดลอง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง

บทที่ 4 ผลการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เอกสารอ้างอิง

ภาคผนวก