อิทธิพลของสาร IBA (Indolebutyric acid) ที่มีผลต่อการชักนำให้เกิดรากของต้นกฤษณา (Aquilaria malaccensis) ที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ Effect of IBA (Indolebutyric acid) on Root Induction of Aquilaria malaccensis Roxb. In Vitro. : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

นิวุฒิ พูลศรี, พิทยา ชูศรี

สำนักพิมพ์: 

สถาบันราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การศึกษาอิทธิพลของ IBA( Indolebutyric acid ) ที่มีผลต่อการซักนําให้เกิดรากของต้นกฤษณา(Aquilaria malaccensis Roxb.) ที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ในสูตรอาหาร MS ที่มีความเข้มข้นของ IBA 0.0 , 0.1 , 0.3 0.5 0.7 1.0 1.5 และ 1.7 มิลลิกรัมต่อลิตร วางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) โดยการนำตายอดตาช้างของกฤษณา ขนาด 0.5 เซนติเมตร ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส ได้รับแสง 1,500-2,000 ลักซ์ นาน 12 ชั่วโมงต่อวัน รวมทั้งสิ้น 8 สิ่งทดลอง 4 ซ้ำๆละ 4 ขวด รวม 128 ขวด เป็นเวลา 60 วัน จากการทดลองผล ปรากฏว่า ต้นกฤษณาที่ใช้ IBA ความเข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความสูงของต้นเท่ากับ 2.46 เซนติเมตร มีจำนวนใบเท่ากับ 10.44 ใบต่อต้น มีจำนวนรากเท่ากับ 3.00 รากต่อต้น มีความยาวรากเท่ากับ 7.22 เซนติเมตร รองลงมาคือที่ใช้ IBA เข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความสูงของต้น 1.95 เซนติเมตร มีจำนวนใบเท่ากับ 10.19 ใบต่อต้น มีจำนวนรากเท่ากับ 2.96 รากต่อต้น มีความยาวรากเท่ากับ 5.15 เซนติเมตร ที่ไม่ใช้สาร ควบคุมการเจริญเติบโตมีความสูงของต้นเพียง 1.39 เซนติเมตร มีจำนวนใบเท่ากับ 5.25 ใบต่อต้น มีจำนวนราก 1.00 รากต่อต้น มีความยาวรากเท่ากับ 0.54 เซนติเมตรซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าทุกสิ่งทดลอง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก