รายละเอียด: |
การศึกษาผลของระดับโปรตีนในอาหารไก่พื้นเมืองต่อสมรรถภาพการผลิต แบ่งออกเป็นสองการทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการประเมินคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยใช้ไก่พันธุ์พื้นเมือง เพศผู้อายุ 1 ปี จำนวน 15 ตัว โดย เพื่อประเมินจากตัวสัตว์โดยตรง พบว่า การย่อยได้ของวัตถุแห้งที่แท้จริงของวัตถุดิบอาหารในไก่พื้นเมือง พอจำแนกออกเป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มที่ย่อยได้ดีได้แก่ ปลายข้าว และข้าว โพด กลุ่มที่ย่อยได้ปานกลางได้แก่ รำละเอียด และกากถั่วเหลือง และกลุ่มที่ย่อยได้ค่อนข้างต่ำ ได้แก่ ปลาป่น และกากเมล็ดในปาล์มน้ำมัน สำหรับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (รวมทั้งเมื่อปรับสมดุลไนโตรเจน) และพลัง งานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่แท้จริง (รวมทั้งเมื่อปรับสมดุลไนโตรเจน) จำแนกออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ให้พลัง งานสูงได้แก่ ข้าวโพด รำละเอียด และปลายข้าว กับกลุ่มที่ให้พลังงานต่ำ คือ กากเมล็ดในปาล์มน้ำมัน ปลาป่น และ กากถั่วเหลือง การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของระดับโปรตีนในสูตรอาหารไก่พื้นเมืองต่อ สมรรถภาพการผลิต โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค โดยใช้ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 1 วัน จำนวน 5 ชุด ๆ ชุดละ 45 ตัว รวมทั้งหมด 225 ตัว ทำการศึกษาระดับโปรตีนในอาหาร 3 ระดับ คือ 14, 16 และ 18 เปอร์เซ็นต์ ใช้เลี้ยงไก่ในช่วงอายุ 0 - 8 สัปดาห์ และ 12, 14 และ 16 เปอร์เซ็นต์ ใช้เลี้ยงไก่ในช่วงอายุ 8 - 16 สัปดาห์ พบว่า ระดับโปรตีนในสูตรอาหารมีผลต่อสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมือง ในช่วงอายุ 0 - 8 สัปดาห์ แต่ในช่วง 8 - 16 สัปดาห์ ไม่มีผลต่อสมรถภาพการผลิต โดยช่วงอายุ 0 - 8สัปดาห์ ไก่พื้นเมืองที่ได้ รับอาหารที่มีโปรตีนระดับต่ำ (14 เปอร์เซ็นต์) มีสมรรถภาพการผลิตด้อยกว่าไก่ที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนใน ระดับกลาง และสูง (16 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ช่วงอายุ 0 - 16 สัปดาห์ ไก่พื้นเมืองที่ได้รับอาหารที่มี โปรตีนระดับต่ำ(14 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงอายุ 0 - 8 และ 8 - 16 สัปดาห์ ตามลำดับ) มีสมรรถภาพการ ผลิตด้อยกว่าไก่ที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนในระดับกลาง และสูง (16 และ 14 เปอร์เซ็นต์ กับ 18 และ 16 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงอายุ 0 - 8 และ 8 – 16 สัปดาห์ ตามลําดับ) |