แบบทดสอบความพร้อมในการเรียน

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนีย์ ประธาน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2534

เลขหมู่: 

ว.372.21 ท118บ

รายละเอียด: 

ความเป็นมา จุดมุ่งหมายประการหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับอนุบาล และเด็กเล็ก ได้แก่ การ เตรียมความพร้อมในการเรียนให้แก่เด็ก เพื่อที่จะได้มีความสามารถพื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนต่อใน ระดับประถมศึกษาได้ด้วยดี ส่วนวิธีการจัดเตรียมความพร้อมในการเรียนได้มีแนวความคิด และรูปแบบการจัดเตรียมความพร้อมสองรูปแบบ คือ มุ่งสอนให้เด็กอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น โดยมีพฤติกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับชั้นประถมศึกษา ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าเด็กใน วัยนี้สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมได้ รูปแบบที่สองเป็นการจัดเตรียมโดยมุ่งเตรียมความพร้อม ทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ และสังคม ส่วนด้านสติปัญญาเน้นการฝึกทักษะย่อยพื้นฐานทั้งนี้เพราะเชื่อ ว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่พร้อมที่จะเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมตามแนวทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ เพียเจท์ (Piaget.) ที่กล่าวว่าเด็กเล็กสามารถเรียนรู้ได้ดีจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น (หรรษา นิลวิเชียร 2532 : 36) แม้นวิธีการจัดการศึกษาระดับอนุบาล และเด็กเล็กจะมีแนวคิดและรูปแบบในการจัดสองรูปแบบก็ตาม แต่วิธีการจัดการศึกษาทั้งสองรูปแบบ ต่างก็มุ่งเตรียมความพร้อมในการเรียนสําหรับเด็กอนุบาล และเด็กเล็กเพราะเชื่อว่าความพร้อมในการเรียนเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ ฮิลเดรท (Hildreth, 1950 : 12 อ้างถึงใน เผ่า เอี่ยมสะอาด 2528 : 13-14) ที่ว่าองค์ประกอบที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่และการปรับตัวให้เข้ากับโรงเรียน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่นองค์ประกอบความพร้อมทางสมอง ทางการรับรู้ ทางประสาทความรู้สึกที่ฉับไว ทางภาษา และทางการปรับตัว องค์ประกอบทางประสบการณ์เบื้องหลัง และสภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับความคิดเห็นของ แอช เฮย์เดน (ASH - Hayden, 1987 : 1393) ที่ว่า องค์ประกอบที่จะทําให้นักเรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนในโรงเรียน มีหลายองค์ประกอบ แต่มีอยู่องค์ประกอบหนึ่งที่สําคัญมากที่จะทําให้นักเรียนประสบผลสําเร็จดังกล่าว คือ ความพร้อมในการเรียนและพัฒนาการทุกส่วนของร่างกายที่ถือว่ามีวุฒิภาวะที่เหมาะสม ด้วยเหตุที่ความพร้อมในการเรียนมีความสําคัญและมีผลเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดจนผลการเรียนของนักเรียนในชั้นประถมศึกษา ดังนั้นการตรวจสอบความพร้อมในการเรียนของ นักเรียนก่อนที่จะเรียนต่อในระดับประถมศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สําคัญและควรกระทํา แต่แบบทดสอบที่ใช้ สําหรับทดสอบความพร้อมในการเรียนมีไม่มากนัก และส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนเฉพาะวิชาเช่นภาษาไทย หรือคณิตศาสตร์ แต่แบบทดสอบความพร้อมในการเรียนทางภาษาไทย หรือคณิตศาสตร์จะประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือแบบทดสอบย่อย ๆ (Sub test) หลายฉบับและแต่ละองค์ประกอบย่อย หรือแต่ละฉบับย่อยอาจมีความสัมพันธ์กัน หรือวัดในสิ่งเดียวกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นควรที่จะมีการสร้างแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนสําหรับทดสอบทั้งด้านพื้นฐาน คณิตศาสตร์ และภาษาไทย เนื่อตรวจลอบความพร้อมในการเรียนของนักเรียนก่อนที่จะเรียนต่อในระดับประถมศึกษา โดยจะคัดเลือกเฉพาะฉบับย่อยที่มีคุณภาพ และสามารถมยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ จุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อสร้างแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนที่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นเด็กเล็ก อนุบาลปีที่ 1 และอนุบาลปีที่ 2 ของอําเภอเมืองและอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่เรียนในปีการศึกษา 2528 และ 2530 จํานวนทั้งสิ้น 1.105 คน การลุ่มกลุ่มตัวอย่างกระทําโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนพื้นฐาน คณิตศาสตร์ และภาษาไทยและแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาไทย ผลการวิจัย คุณภาพรายข้อของแบบทดสอบความพร้อมในการเรียน พื้นฐาน คณิตศาสตร์ และ ภาษาไทย ส่วนใหญ่ค่อนข้างง่าย แต่มีค่าอํานาจจําแนกอยู่ในระดับพอใช้ได้ และดี ความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบความพร้อมในการเรียนพื้นฐานอยู่ในระดับพอใช้ได้แต่แบบทดสอบความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ และภาษาไทยอยู่ในระดับดี ส่วนคุณภานด้านความเที่ยงตรงตามโครงสร้างพบว่า นักเรียนอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มที่มีอายุ 5 ปี 7 เดือน ถึง 6 ปี และกลุ่มที่มีอายุสูงกว่า 6 ปีขึ้นไปมี คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนสูงกว่า นักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ที่มีอายุ 4 ปีถึง 5 ปี 6 เดือน อย่างเชื่อมั่นได้ทางสถิติเกือบทุกฉบับ และนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มที่มีอายุสูงกว่า 6 ปี มีคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนสูงกว่า นักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ที่มีอายุ 5 ปี 7 เดือน ถึง 6 ปี อย่างเชื่อมั่นได้ทางสถิติเพียงบางฉบับ ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่าง ของกลุ่มที่มีระดับชั้นแตกต่างกันพบว่า นักเรียนที่เรียนในชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 2 มีค่าเฉลี่ยจากแบบ ทดสอบความพร้อมในการเรียนแต่ละฉบับย่อยและรวมทั้งฉบับสูงกว่า นักเรียนที่เรียนในชั้นเด็กเล็กอย่างเชื่อมั่นได้ทางสถิติเกือบทุกฉบับและนักเรียนที่เรียนในชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยจากแบบทดสอบความพร้อมในการเรียน แต่ละฉบับย่อยและรวมทั้งฉบับสูงกว่านักเรียนอนุบาลปีที่ 1 อย่างเชื่อมั่นได้ ทางสถิติเกือบทุกฉบับ นอกจากนี้ยังพบว่าแบบทดสอบแต่ละฉบับย่อย มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมของแต่ละฉบับอย่างเชื่อมั่นได้ทางสถิติ และแบบทดสอบความพร้อมในการเรียน แต่ละฉบับย่อยมีองค์ประกอบร่วมกัน (Factor Loading) โดยมีค่าน้ําหนักองค์ประกอบที่องค์ประกอบแรกมีค่าสูงกว่า 0.40 ทุกฉบับ ยกเว้นแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนพื้นฐาน ด้านความสามารถในการจําแนก เสียง (P) และความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ ด้านความสามารถเกี่ยวกับการอนุรักษ์ด้าน ปริมาตรและการจําแนกสิ่งที่ไม่เข้าพวก (M) ส่วนคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์พบว่า แบบทดสอบความพร้อมในการเรียนแต่ละฉบับย่อย และรวมทั้งฉบับมีความสัมพันธ์ กับแบบทดสอบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละฉบับอย่างเชื่อมั่นได้ทางสถิติเป็นส่วนใหญ่ และแบบทดสอบความพร้อมใน การเรียนแต่ละฉบับย่อยมีส่วนร่วมในการพยากรณ์ คะแนนจากแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ ละฉบับโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณตั้งแต่ 0.66 - 0.83 (F4 เท่ากับ 0.57 - 0.79) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวย่อมแสดงว่าแบบทดสอบความพร้อมในการเรียนพื้นฐานคณิตศาสตร์ และภาษาไทย เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยข้อทดสอบที่มีคุณภาพดี มีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูง มีความ เที่ยงตรงตามโครงสร้างและความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ค่อนข้างสูงสามารถนําไปใช้ในการทดสอบ ความพร้อมในการเรียนของนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ก่อนที่จะเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่าง เหมาะสม CAREA แบบทดสอบความพร้อมในการเรียนฉบับย่อยที่มีความเหมาะสม ที่จะนําไปใช้ทดสอบความ พร้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีคุณภานใกล้เคียงกับการใช้แบบทดสอบ ความพร้อมในการเรียนทั้ง 15 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบความพร้อมในการเรียนพื้นฐานด้านความ สามารถในการจําแนกความเหมือน และความแตกต่างของภาพ (E,) แบบทดสอบความพร้อมใน การเรียนคณิตศาสตร์ ด้านความสามารถเกี่ยวกับความคิดรวบยอดด้านจํานวนนับ (M) ด้านความ สามารถในการจําแนกความเหมือน และความแตกต่างของตัวเลข (M.) และด้านความสามารถ เกี่ยวกับมิติสัมพันธ์ การรับรู้เกี่ยวกับรูปทรงและความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ (Mg)และแบบทดสอบ ความพร้อมในการเรียนภาษาไทย ด้านความสามารถในการจําแนกความเหมือน และความแตกต่าง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม