ศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารและฤทธิ์ของสารสกัดที่ได้จากผักหวานบ้าน

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มานี เตื้อสกุล, ถนอมจิต สุภาวิตา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

631.523 ม25ศ

รายละเอียด: 

การศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหาร และฤทธิ์ของสารสกัดที่ได้จากผักหวานบ้านพันธุ์เดิมกับพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงโดยใช้สารโคลชิซิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารและฤทธิ์ทางชีววิทยาของสารสกัดที่ได้จากผักหวานบ้านทั้งสองพันธุ์ โดยนํา ใบ ลําต้น และราก มาศึกษาหา ความชื้น ใยอาหาร เถ้า โปรตีน เบต้า-แคโรทีน กรดแอสคอร์บิค เหล็ก แคลเซียม อัลคาร์ลอยด์ ไกลโคไซด์ ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัด แอนตี้ออกซิแดนซ์ ฤทธิ์ต้าน เชื้อจุลินทรีย์ และ Brine Shrimp Lethality Test ปรากฏผลการทดลองดังนี้ ผักหวานบ้านพันธุ์ปรับปรุงโดยใช้สารโคลชิซิน มีเปอร์เซ็นต์ ความชื้น โปรตีน ใยอาหาร เบต้า-แคโรทีน กรดแอสคอร์บิค และเหล็ก สูงกว่าผักหวานบ้านพันธุ์เดิม ใบของผักหวานบ้านมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ลําต้น และราก ในใบ ลําต้น และราก ของผักหวานบ้านทั้งสองพันธุ์ พบสารสําคัญได้แก่ reducing compound, alkaloid sterol/ triterpene ส่วน tannin พบรากและใบ saponin พบใน ลําต้นและราก ของผักหวานบ้านทั้งสองพันธุ์ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี DPPH Radical Scavenging Assay สารสกัดจากผักหวานบ้านพันธุ์เดิมมีเปอร์เซ็นต์การต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าพันธุ์ปรับปรุง และจากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อไรน้ำเค็ม พบว่าสารสกัดจากผักหวานบ้านพันธุ์เดิมมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อไรน้ำเค็ม สูงกว่าผักหวานบ้านพันธุ์ปรับปรุง การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าสารสกัดจากรากของผักหวานบ้านทั้งสองพันธุ์ ที่สกัดโดยใช้แอลกอฮอล์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 4 ชนิด คือ Staphylococcus aureus Bacillus subtilis Proteus vulgalic และ Pseudomonas aeruginosa โดยผักหวานบ้านพันธุ์ปรับปรุงมีเส้นผ่าศูนย์กลางของวงใสกว้างกว่าผักหวานบ้านพันธุ์เดิม จากผลการทดลองนี้ได้นํามาเผยแพร่โดยจัดการฝึกอบรมนักวิชาการที่สนใจ เพื่อจะได้นําไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้แต่ง