ภาษาและวัฒนธรรมของมุสลิมในเมืองสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สมัย วิถีรุ่งโรจน์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2537

เลขหมู่: 

495.9124 ส16ภ

รายละเอียด: 

งานวิจัย "ภาษาและวัฒนธรรมของมุสลิมในเมืองสงขลา” นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาคำยืมภาษามลายูของมุสลิมในเมืองสงขลา และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของมุสลิมในเมืองสงขลา โดยมีขอบเขตการเก็บข้อมูลเฉพาะมุสลิมในชุมชนบ้านบน บ้านกลาง และบ้านนอก ตําบลบ่อยาง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา ใน พ.ศ.2535 ซึ่งมุสลิมในชุมชนดังกล่าวเป็นมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเมืองสงขลาตั้งเดิมไม่ต่ำกว่าสามชั่วอายุคน และได้คัดเลือกผู้บอกข้อมูลจํานวน 6 คน เป็นผู้ชาย 3 คน และผู้หญิง 3 คน มีอายุระหว่าง 45-65 ปี มีการศึกษาไม่สูงนัก ถือเป็นตัวแทนของมุสลิมในชุมชนดังกล่าว ซึ่งผู้วิจัยได้ออกเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยตนเองและนําข้อมูลมาศึกษา จากนั้นเสนอผลการศึกษาวิจัยในรูปของการพรรณนาเชิง วิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ภาษา ปรากฏผลว่า มุสลิมในเมืองสงขลาได้ยืมคําภาษามลายูมาพูดปนกับภาษา ไทยถิ่นโดยนําคําศัพท์ภาษามลายูมาพูดในสําเนียงไทยถิ่น ซึ่งมีทั้งการทับศัพท์ และมีทั้งทําคํามาตัดพยางค์หน้า ตัดพยางค์กลางและตัดพยางค์หลัง ทั้งมีการกลมกลืนเสียง การย้ายเสียง ส่วนในเรื่องของความหมายของคําก็มีทั้งที่ยังใช้ความหมายคงเดิมใช้ในความหมายกว้างออกความหมายแคบเข้า และความหมายผ้ายที่ วัฒนธรรม ปรากฏผลว่า วัฒนธรรมการเกิด การแต่งงาน การตาย การเข้าสุหนัด การละหมาด การถือศีลอด การบริจาคทานและการทําบุญออกบวช ส่วนใหญ่จะมีพิธีกรรมทางศาสนาเหมือนกับของมุสลิมถิ่นอื่น จะต่างจากมุสลิมถิ่นอื่นบ้างที่เป็นส่วนปลีกย่อยที่ไม่จําเป็นหรือไม่สําคัญ ซึ่งไม่ปรากฏในศาสนบัญญัติและถ้าไม่กระทําก็ไม่ผิดหรือจะกระทําก็ไม่ผิด เพราะเมื่อสังคมเปลี่ยน ความคล่องตัว ความสะดวกและรวดเร็วจําเป็นมาก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนต่างจากอดีต และต่างจากวัฒนธรรมมุสลิมในถิ่นอื่น จนบางวัฒนธรรมกลายเป็นลักษณะเฉพาะถิ่น ตอนสุดท้ายผู้วิจัยได้เสนอให้มีการศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมของมุสลิมในถิ่นอื่น และเสนอแนะให้นําผลการศึกษาวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนในเรื่องของภาษา โดยเฉพาะคำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย การกลายเสียงและการกลายความหมาย และเรื่องของวัฒนธรรมวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชนในสังคม นับตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาด้วย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บรรณานุกรม

ภาคผนวก