นิพพาน ศึกษาจากวรรณกรรมชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เกษม ขนาบแก้ว

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2532

เลขหมู่: 

ว.294.32 ก58น

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติ และผลงานวรรณกรรมชุดธรรมโฆษณ์ ของพุทธทาสภิกขุ และศึกษานิพพานที่ปรากฏในวรรณกรรมชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ ผลจากการวิจัย สรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ 1. พุทธทาสภิกขุ เป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานทางวรรณกรรม มากมาย ผลงานที่เด่น คือ วรรณกรรมชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2535) มีถึง 59 เล่ม 1 2. นิพพานเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่พุทธทาสภิกขุยเน้นอธิบาย รายละเอียดมากที่สุดข้อหนึ่ง ปรากฏในวรรณกรรมที่ศึกษาทุกเล่ม 3. ผลจากการศึกษานิพพาน สรุปได้เป็น 10 ประเด็น คือ 1. ความเป็นมาและพัฒนาการของนิพพาน แบ่งได้ 3 ยุค คือ 1. นินนานของวัตถุ 2. นิพพานของสัตว์ 3. นิมมานของมนุษย์ 2. ความหมายของนิพพาน แบ่งได้ 3 ความหมาย คือ 1. ความหมายตามรูปตันท์ 2. ความหมายตามความเข้าใจของคนทั่วไป 3. ความหมายตามบัญญัติของพระพุทธศาสนา 3. นิยามของนิพพานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท สัมพันธ์กัน คือ 1. นิยามที่สัมพันธ์กับความดับ 2. นิยามที่สัมพันธ์กับความว่าง 3. นิยามที่สัมพันธ์กับคําอื่น ๆ .. 4. ลักษณะของนิพพาน คือ นิพพานเป็นนิโรธธาตุปราศจากการปรุงแต่ง มีอยู่ตลอดกาล เป็นที่ดับของสังขารทั้งปวง : 5. ไวพจน์ของนิพพานที่ปรากฏ มี 46 คํา 6. ประเภทของนิพพาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. นินนานชั่วคราว ได้แก่ ตทังคนิพพาน และวิกขัมภนนิพพาน 2. นิพพานจริง ได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน 7. ความสําคัญของนิพพาน คือ นิพพานเป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา 8. ประโยชน์ของนินนาน คือ นิมมานเป็นเครื่องดับทุกข์ 9. ความเชื่อเรื่องนิพพานแยกได้เป็น 2 ประการ คือ 1. ความเชื่อของชาวบ้าน นิพพานเป็นเรื่องของชาติหน้า คนธรรมดาไม่สามารถบรรลุนิพพานได้ 2. ความเชื่อของพุทธทาสภิกขุ นิพพานเป็นเรื่องของชาตินี้ ทุกคนมีบารมีที่จะบรรลุนินนานได้ 10. วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุนินนาน มี 3 วิธี คือ 1. การควบคุมอายตนะ 2. การควบคุมกิเลส 3. การอยู่นิ่ง ๆ หรือการปล่อยวาง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

บทที่ 6

บทที่ 7

บรรณานุกรม

ประวัติผู้แต่ง