การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผักบุ้งไทยและผักกะเฉด ในการดูดซึมตะกั่วที่ละลายในน้ำ

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

จิราพร เพ็งจำรัส , พนอม แก้วนพรัตน์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2548

เลขหมู่: 

ว.363.7394 จ37ก

รายละเอียด: 

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผักบุ้งไทยและผักกะเฉด ในการดูดซึมตะกั่วที่ละลายในน้ำ ในการทดลองตัวอย่างน้ำได้เตรียมจากการผสมน้ำกับโลหะหนัก Pb โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด การทดลองชุดที่ 1 เลี้ยงผักบุ้งไทย มีความหนาแน่นร้อยละ 40 ของพื้นที่ผิว จํานวน 4 ถัง โดยถังที่ 1-3 เติม สารละลายตะกั่วความเข้มข้น 10, 20 และ 30 มิลลิกรัมต่อลิตรและเติมธาตุอาหาร 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ถึงที่ 4 ไม่เติมสารละลายตะกั่วเป็นถังควบคุม การทดลองชุดที่ 2 เลี้ยงผักกะเฉด มีความ หนาแน่นร้อยละ 40 ของพื้นที่ผิว จํานวน 4 ถัง โดยถังที่1-3 เติมสารละลายตะกั่วความเข้มข้น 10 , 20 และ 30 มิลลิกรัมต่อลิตรและเติมธาตุอาหาร 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ถึงที่ 4 ไม่เติมสารละลายตะกั่ว เป็นถังควบคุม ทําการเก็บตัวอย่างน้ำในวันที่ 1 ก่อนปล่อยให้ผักบุ้งไทยและผักกะเฉดดูดซึมตะกั่วและเก็บ ตัวอย่างน้ำมาวิเคราะห์ในวันที่ 7 (รัชดา บุญแก้ว และวรรณฤดี หวั่นเซ็ง, 2542 : 2) เพื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพในการดูดซึมตะกั่วระหว่างผักบุ้งไทยกับผักกะเฉด โดยนําน้ำตัวอย่างในแต่ละถังมาวิเคราะห์ หาปริมาณตะกั่วที่ละลายในน้ำโดยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชั่น (AAS) ผลการศึกษาพบว่าการทดลองชุดที่ 1 ที่ความเข้มข้น 10, 20 และ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าผักบุ้ง ไทยมีประสิทธิภาพในการดูดซึมตะกั่วได้ถึง 77% , 81 % และ 47 % ตามลําดับ ในการทดลองชุดที่ 2 ที่ ความเข้มข้น 10, 20 และ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าผักกะเฉคมีประสิทธิภาพในการดูดซึมตะกั่วได้ถึง 83% , 89% และ 89% ตามลําดับ แสดงว่าผักบุ้งไทยและผักกะเฉคมีประสิทธิภาพในการดูดซึมตะกั่ว และ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดซึมตะกั่วที่ความเข้มข้นแตกต่างกันของผักทั้ง 2 ชนิด ผักกะเฉดมี ประสิทธิภาพในการดูดซึมตะกั่วได้ดีกว่าผักบุ้งไทย สาเหตุมาจากความแตกต่างในเรื่องของอายุ เนื่องจากผัก กะเฉดเมื่อมีอายุมาก ลําต้นจะมีเนื้อเยื่อสีขาว เรียกว่า นมผักกะเฉด ล้อมรอบลําต้น ความสามารถในการพูด ซึมที่สะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของลําต้น ระยะเวลาที่ปล่อยให้พืชดูดซึมและความเข้มข้นของสารละลายตะกั่ว ที่แตกต่างกัน สามารถนําไปบําบัดน้ําที่มีโลหะหนักปนเปื้อนในขั้นเบื้องต้นได้ (สุชาดา ศรเพ็ญ 2542:10) จากการวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วที่ตกค้างในผักบุ้งไทยและผักกะเฉด ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ เทศบาลนครหาดใหญ่ในวิ่งประดิษฐ์ (บ่อที่ 5) พบว่าผักบุ้งไทยมีปริมาณตะกั่วตกค้าง 0.1301 ppm และ ผักกะเฉดมีปริมาณตะกั่วตกค้าง 0.3583 ppm และเมื่อเทียบกับเกณฑ์กําหนดตะกั่วในอาหารตามมาตรฐาน กระทรวงสาธารณะสุข ปริมาณการตกค้างของตะกั่วในผักไม่เกิน 0.1 ppm (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2542) ซึ่งมีปริมาณตะกั่วเกินมาตรฐานยังไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการทดลอง

บทที่5 สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก