การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถของหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาบริเวณพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วารุณี วงศ์วิเชียร, สนธยา พลศรี, นภาพร โกยสมบูรณ์, วิโรจน์ วัฒนาวิทวัส, สรรวภัทร พัฒโร, อิสระ ทองสามสี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2550

เลขหมู่: 

ว.307.72 ว27ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถของหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาบริเวณพื้นที่ลุ่มทะเลสาบ สงขลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการให้ทีมวิจัยฝ่ายชุมชนซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนศึกษา วิเคราะห์หาปัญหาของชุมชนที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน 5 อันดับแรก พร้อมทั้งสาเหตุและแนว ทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น แล้วกําหนดดําเนินโครงการ กิจกรรม เพื่อสร้างเสริมคุณภาพีวิตของ ชุมชนให้สอดคล้องกับปัญหาชุมชนที่เกิดขึ้น และอยู่บนศักยภาพที่ชุมชนจะกระทําได้ภายใต้ปัจจัย และทรัพยากรที่มีอยู่หรือพอจะหาได้ในชุมชน พื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ พื้นที่ขิงหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาในจังหวัดสงขลาที่ตั้งอยู่ บริเวณพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา จํานวน 3 แห่ง ได้แก่ บ้านขาว หมู่ที่ 3 ตําบลบ้านขาว อําเภอระโนด บ้านอ่าวทิ้ง หมู่ที่ 4 ตําบลรัตภูมิ อําเภอควนเนียง และบ้านประตูเขียน หมู่ที่ 5 ตําบล ม่วงงาม อําเภอสิงหนคร สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ทีมวิจัยฝ่ายพัฒนา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือแกนนําชุมชนในพื้นที่วิจัยที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การ ทํางานด้านการพัฒนาชุมชน ซึ่งยินดีเข้าร่วมอยู่ในทีมวิจัยฝ่ายพัฒนา พื้นที่วิจัยละ 4 – 6 คน และทีม วิจัยฝ่ายชุมชนประกอบด้วยบุคคลที่เป็นหัวหน้าหรือประธานกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนชาวบ้าน ในชุมชนพื้นที่วิจัยที่สนใจและสมัครใจเข้าร่วมอยู่ในทีมวิจัยฝ่ายชุมชน พื้นที่วิจัยละ 30 – 50 คน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ข้อมูลทั่วไป ของชุมชน ข้อมูลจากกระบวนการวิจัย และข้อมูลจากการติดตามประเมินผล ส่วนการวิเคราะห์ ข้อมูลนั้นใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative) แบบสร้างข้อสรุปแล้วนําเสนอลักษณะพรรณา ความ (Descriptive) และวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative) ด้วยค่าความถี่ อัตราส่วนร้อย หรือค่าเฉลี่ย (X) สําหรับการดําเนินการวิจัยภาคสนาม มีทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการวิจัย การเตรียมทีมวิจัย การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาชุมชนและแนวทางแก้ไข การกําหนดโครงการและกิจกรรม การดําเนินโครงการและกิจกรรม และการประเมินผล ติดตามผล ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ปัญหาสําคัญ 5 อันดับแรกของชุมชนพื้นที่วิจัย ปัญหาสําคัญ 5 อันดับแรกของพื้นที่บ้านขาว หมู่ที่ 3 อําเภอระโนด เรียงลงมาตามลําดับ ได้แก่ หนี้สินมาก ยากจน ศัตรูพืช (หอยเชอรี่) ราคาผลผลิตต่ํา การขาคเงินทุนในการ ผลิต และการขาดที่ดินทํากิน ปัญหาสําคัญ 5 อันดับแรกของพื้นที่บ้านอ่าวทิ้ง หมู่ที่ 4 อําเภอควนเนียง เรียงลงมาตามลําดับ ได้แก่ รายได้ไม่พอ ภาวะหนี้สิน ขาดเงินทุน ดินเสื่อมมาก และการว่างงาน ปัญหาสําคัญ 5 อันดับแรกของพื้นที่บ้านประตูเขียน หมู่ที่ 5 อําเภอสิงหนคร เรียงลงมาตามลําดับ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ กลุ่มแม่บ้านขาดการพัฒนา ขาดความรู้เรื่องการเลี้ยงโค และขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนา 2. โครงการ กิจกรรมที่ดําเนินการในชุมชนพื้นที่วิจัย โครงการ กิจกรรมในพื้นที่บ้านขาว หมู่ที่ 3 อําเภอระโนด ได้แก่ การอบรมความรู้เรื่องการจัดโฮมสเตย์ (Home-stay) การอบรมปฏิบัติการกําจัดหอยเชอรี่เพื่อทําปุ๋ยหมัก การอบรมปฏิบัติการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม การอบรมการคัดเลือกและผลิตเมล็ดพันธุ์ดี การอบรมการปลูกพืชสวนผสมและทําปุ๋ยหมัก การอบรมการปลูกพืชสวนผสมและทําปุ๋ยหมัก การอบรมปฏิบัติการการประดิษฐ์และตกแต่งดอกไม้งานศพ การอบรมปฏิบัติการเขียนโครงการ และการอบรมปฏิบัติการเพาะเลี้ยงไรแดง โครงการ / กิจกรรมในพื้นที่บ้านอ่าวทิ้ง หมู่ที่ 4 อําเภอควนเนียง ได้แก่ การอบรม ปฏิบัติการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียม การอบรมการปลูกพืชสวนผสมและทําปุ๋ยหมัก การอบรมเพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน การอบรมปฏิบัติการและเลี้ยง ไรแดง และการอบรมปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเห็ด โครงการ กิจกรรมในพื้นที่บ้านประตูเขียน หมู่ที่ 5 อําเภอสิงหนคร ได้แก่ การอบรมปฏิบัติการประดิษฐ์และตกแต่งดอกไม้งานศพแก่กลุ่มแม่บ้าน การอบรมความรู้การเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองอย่างครบวงจร การอบรมปฏิบัติการเขียนโครงการ การอบรมการปลูกพืชสวนผสม และทําปุ๋ยหมัก การอบรมเพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน และการอบรมปฏิบัติการทําขนมแก่กลุ่มแม่บ้าน 3. ผลการประเมินโครงการ / กิจกรรมที่ดําเนินการในชุมชนพื้นที่วิจัย การดําเนินโครงการ / กิจกรรมข้างต้นในทุกชุมชนพื้นที่วิจัยล้วนประสบผลสําเร็จดียิ่ง ผู้เข้าร่วมต่างเห็นว่าโครงการ / กิจกรรมเหล่านั้นได้ให้ความรู้ เทคนิควิธี และทักษะอันมีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อการนําไปแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้สูงขึ้น โดยที่คนในชุมชนสามารถนําไปปฏิบัติให้บรรลุผลสําเร็จได้ จึงสมควรขยายผลให้กว้างขวางออกไปในชุมชน อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทุกโครงการ กิจกรรมได้รับการประเมินผลโดยรวมจากผู้เข้าร่วมในพื้นที่วิจัยนั้นๆ ว่าอยู่ระดับมากที่สุด 4.ผลการประเมินโครงการ การดําเนินโครงการวิจัยในทุกชุมชนพื้นที่วิจัยได้มีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ โดยตลอด ซึ่งกระทํากันภายในทีมวิจัย โดยวิธีประชุมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และตอบแบบประเมินผล นอกจากนั้นยังมีการประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการด้วยการถามความคิดเห็น และสนทนาพูดคุยกับ ผู้นําชุมชน และบุคคลต่าง ๆ ในชุมชนอีกด้วย สรุปผลการประเมินได้ว่า โครงการวิจัยนี้เป็นที่ต้องการให้ดำเนินการอย่างยิ่งของชุมชนพื้นที่วิจัยทุกแห่ง ผู้นําชุมชนและสมาชิกชุมชนที่ร่วมการวิจัย (ทีมวิจัยฝ่ายชุมชน) ในพื้นที่แต่ละแห่งต่างเห็นว่าเป็นโครงการวิจัยที่ส่งผลอันมีคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน อีกทั้งเป็นแนวทางสําคัญที่ช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของตนได้อย่างสอดคล้อง กับปัญหาและความต้องการอันแท้จริง จากการติดตามผลหลังเสร็จสิ้นโครงการวิจัยแล้วประมาณ 2 เดือน พบว่า หลาย ๆ โครงการ / กิจกรรมที่ดําเนินการไปในโครงการวิจัยนี้ยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น และถูกนําไปบรรจุไว้ในแผนชุมชน ซึ่งบางโครงการ / กิจกรรมกําลังจะบูรณาการขึ้นไปเป็นแผนระดับตําบลหรือสูงกว่านั้น

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 การศึกษาข้อมูลชุมชน

บทที่5 ผลการวิจัย

บทที่6 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก