รายละเอียด: |
ศึกษาลักษณะการวัลคาไนซ์ของยางสังเคราะห์ คือ ยางไนไตรล์-1031 ยางเอสบีอาร์-1502 และยางบีอาร์-0150 ในระบบวัลคาไนซ์ทั้ง 5 ระบบ คือ ระบบกํามะถันปกติ ระบบเซมิอีวี ระบบอีวี ระบบสารให้กํามะถัน และระบบเปอร์ออกไซด์ โดยสารตัวเร่งที่ใช้คือ TMTD, CBS และ MBT ได้รับการทดสอบด้วยเครื่อง (ODR รุ่น GOTECH GT-707-s2 ที่อุณหภูมิ 11-180 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ สามารถแปรรูปได้ของยางธรรมชาติจะสั้นที่สุด เนื่องจากพลังงานกระตุ้นต่ำ รองลงมาคือ ยางเอสบีอาร์ เยางไนไตรล์ และยางบีอาร์ ส่วนค่าดัชนีความเร็วในการวัลคาไนซ์ และค่าคงที่ปฏิกิริยาการวัลคาไนซ์ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ยางธรรมชาติ จะให้ค่ามากที่สุด ทําให้ระดับการวัลคาไนซ์มากด้วย ส่วนยางเอสบีอาร์ ยางไนไตรล์ และยางบีอาร์ จะมีค่าน้อยลงตามลําดับ ส่วนค่าคงที่ปฏิกิริยาการวัล คาในซ์จะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ เช่นเดียวกับระดับของการวัลคาไนซ์ก็จะมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน คือจะเพิ่มขึ้นได้เร็วในทุกระบบวัลคาไนซ์ และยางสังเคราะห์แต่ละชนิดก็ให้ผลเช่นเดียวกัน แต่ใน ระบบเปอร์ออกไซด์จําเป็นจะต้องใช้อุณหภูมิสูงในการเร่งให้เกิดการวัลคาไนซ์ และระบบนี้ระยะเวลา ที่ยางเริ่มสุกจะสั้น แต่เวลาในการวัลคาไนซ์จะช้า เราสามารถเร่งปฏิกิริยาได้โดยการเพิ่มอุณหภูมิ |