การเปรียบเทียบประสิทธิภาพชานอ้อยและใยมะพร้าวในการดูดซับคราบน้ำมันดีเซลบนผิวน้ำ : รายงานการวิจัย

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

หนับเสาะ เอาทาน, ออริสา มาลินี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2551

เลขหมู่: 

ว.363.7394 ห15ก

รายละเอียด: 

จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพชานอ้อยและใยมะพร้าวในการดูดซับ คราบน้ํามันดีเซลบนผิวน้ํา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดูคซับคราบน้ํามันดีเซล และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวดูดซับระหว่างชานอ้อยและใยมะพร้าวที่ใช้ในกระบวนการลด ปริมาณคราบน้ํามันดีเซลบนผิวน้ํา ผลการศึกษาความสามารถในการดูดซับคราบน้ํามันดีเซลของ ชานอ้อยและโยมะพร้าวในการดูดซับคราบน้ํามันดีเซลสังเคราะห์ที่ปริมาณ 30, 40 และ 50 มิลลิลิตรต่อน้ํา 5 ลิตร พบว่า ชานอ้อยสามารถลดปริมาณตราบน้ํามันดีเซลได้ร้อยละ 68.18, 76.11 และ 89.65 ตามลําดับ และใยมะพร้าวสามารถลดปริมาณคราบน้ํามันดีเซลได้ร้อยละ 7779, 86.17 และ 92.58 ตามลําดับ ผลการศึกษาพบว่าปริมาณคราบน้ํามันที่ 30, 40 และ 50 มิลลิลิตรมีผลต่อ ประสิทธิภาพในการดูดซับคราบน้ํามันดีเซลบนผิวน้ําแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (0.05 ซึ่งจะเห็น ได้ว่า ใยมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการดูดซับคราบน้ํามันดีเซลได้ดีกว่าชานอ้อย ดังนั้น จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชานอ้อย (89.65 เปอร์เซ็นต์ และ ใยมะพร้าว (92.58 เปอร์เซ็นต์) ในการดูดซับคราบน้ํามันดีเซลบนผิวน้ํา สามารถสรุปได้ว่า ใยมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการดูดซับคราบน้ํามันดีเซลได้ดีกว่าชานอ้อย ทั้งนี้มีน้ําหนัก 4 กรัม เท่ากัน เนื่องจากใยมะพร้าวมีเส้นใย และมีส่วนประกอบของเซลล์ลูโลสและลึกนั้นสูง (ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.ldd.go.thnew hpvichakar/symposium-57.141.html) ซึ่งปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการดูดซับ ได้แก่คุณสมบัติของตัวดูดซันไม่ว่าจะเป็นเส้นใยและโครงสร้างของรูพรุน ซึ่ง พื้นผิวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูพรุน เส้นใย หากรูพรุนและเส้นใยมีมากทําให้มีพื้นที่ผิวดูดซับ มาก ทั้งนี้ความสามารถในการดูดซับก็จะมากขึ้น การดูดซับจะเกิดได้ดีเมื่อโมเลกุลตัวถูกดูดซับมี ขนาดเล็กกว่ารูพรุนเล็กน้อย (ออนไลน์เข้าถึงได้จากhtp://search.sanook.corruknowledge/ CEIG preview.php?-id-140)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีการดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการทดลอง

บทที่5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย