การพัฒนาน้ำดอกดาหลาพร้อมดื่ม

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ณาฐอนงค์ อุทิศธรรม, ปิยะนุชอ สุขประดิษฐ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2546

เลขหมู่: 

ว.641.875 ณ23ก

รายละเอียด: 

จากการศึกษาสูตรน้ําดอกดาหลาพร้อมดื่ม โดยการผสม น้ํากระเจี๊ยบ น้ําส้มแขก และ น้ํามะนาว ในอัตราส่วน 90.10, 70:30 และ50:50 พบว่า น้ําดอกดาหลาผสมน้ํากระเจี๊ยบ น้ําดอกดา หลาผสมน้ําส้มแขก และน้ําดอกดาหลาผสมน้ํามะนาว ในอัตราส่วน 70:30 ได้รับการยอมรับจาก ผู้ทดสอบชิมมากที่สุด ผลจากการวิเคราะห์ทางกายภาพ พบว่า ค่าการส่องผ่านของแสง และค่าสี L* a* และb* ของน้ําดอกดาหลาพร้อมดื่มทั้ง 3 ตัวอย่าง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญ ยิ่ง (P< 0.01) โดยที่น้ําดอกดาหลาผสมน้ํากระเจี๊ยบมีค่าสีดีที่สุด คือ L*เท่ากับ 11.32, 2* เท่ากับ 22.98 และ 6* เท่ากับ 10.13 การวิเคราะห์ทางเคมี พบว่า ปริมาณวิตามินซีไม่มีความแตกต่างกัน ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญยิ่ง ( P< 0.01) โดยที่น้ําคอก ดาหลาผสมน้ํากระเจี๊ยบมีความเป็นกรดด่างดีที่สุด คือ 2.70 และปริมาณกรดทั้งหมดมีความแตก ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (P< 0.05) ส่วนคุณภาพทางจุลินทรีย์ พบว่า น้ําดอกดาหลาทั้ง 3 ตัวอย่างไม่ พบยีสต์ และรา ส่วนปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดเจริญอยู่เล็กน้อย (< 30 โคโลนีในอาหาร 1 กรัม) ผลการทดสอบการยอมรับ พบว่า ผลิตภัณฑ์น้ําดอกดาหลาผสมน้ํากระเจี๊ยบได้รับการยอมรับจากผู้ ทดสอบชิมมากที่สุด โดยมีคะแนนความชอบรวมเท่ากับ 7.80 ผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ และบรรจุขวดเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4ซ เป็นเวลา 15 วัน พบว่า ผลิตภัณฑ์น้ําดอกดาหลาพร้อมดื่มมีสี แดงคล้ํามากขึ้น ส่วนค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดมี จํานวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนยีสต์ และราพบน้อยมาก ( 30 โคโลนีในอาหาร 1 กรัม)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 การตรวจเอกสาร

บทที่3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง

บทที่4 ผลการทดลอง

บทที่5 วิจารณ์ผลการทดลอง

บทที่6 สรุปผลการทดลอง

บทที่7 ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก