วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์เรื่องคลองกับระบบเศรษฐกิจของไทย พ.ศ. 2567 - 2453 ทั้งนี้เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าไทยชุดคลองเพื่อการชลประทาน ซึ่งอาจสอดคล้องกับทฤษฎีสังคมพลังบ้าของวิตโฟเคล ที่กล่าวว่า สังคมในภาคพื้นเอเชียนั้น จําเป็นจะต้องอาศัยการชลประทานช่วยในการเพาะปลูก ด้วยความเชื่อดังกล่าว นี้เอง ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช จึงได้น่าทฤษฎีสังคมพลังน้ำมาอธิบายสภาพสังคมไทย นับว่าเป็นการวิจัยที่สําคัญมาก แต่มีข้อบกพร่องอยู่ที่ว่า คร.ชัยอนันต์ ยอมรับว่า ทฤษฎีสังคมหลังน้ำใช้อธิบายสภาพของสังคมไทยได้ โดยที่ยังไม่ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ไทยขุดคลองเพื่อการชลประทานจริงหรือไม่
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงต้องการวิเคราะห์ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ไทยชุดคลองขึ้นทําไม ใครเป็นผู้ขุด เมื่อขุดแล้วว่าให้ผลผลิตข้าวของไทยเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นตกอยู่ที่ใคร ในขณะเดียวกันก็จะชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีสังคม พลังน้ำใช้อธิบายสภาพสังคมไทยได้หรือไม่
ผลการวิจัยพบว่า ไทยชุดคลองเพื่อการคมนาคมทั้งเพื่อการคมนาคมโดยเฉพาะ และเพื่อการคมนาคมอันนำไปสู่การเปิดพื้นที่การเพาะปลูก โดยไม่มีเป้าหมายเพื่อการ ชลประทานดังที่เคยเข้าใจกันมา ดังนั้นการนําทฤษฎีสังคมหลังน้ำมาอธิบายสภาพสังคม ไทยจึงไม่รัดกุมนัก อีกประการหนึ่งแม้ว่าคลองชุดช่วยให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจ แต่ผลประโยชน์ที่แท้จริงนั้นก็ยังอยู่ในมือของชนชั้นสูง ได้แก่เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีทรัพย์ เพราะคนกลุ่มนี้เข้าถือครองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตและที่ดินที่ที่ริมฝั่งคลองเสียแทบหาหมดสิ้น
|