ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
พิกุล สมจิตต์, เสรี ชะนะ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2553 |
|
เลขหมู่: |
ว.378.1 พ31ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาภูมิหลังของนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปีการศึกษา 2551 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้าเรียนและหลังเข้าเรียน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อวิเคราะห์ผลการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้สําเร็จการศึกษาโดย ส่วนรวม และจําแนกตามสาขาวิชา และเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตโดยภาพรวม และ จําแนกตามสาขาวิชา ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ที่เข้าศึกษาในปี พ.ศ. 2551 มีจํานวน 1,428 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จํานวน 1,225 คน และชั้นปีที่ 3 หลักสูตร 2 ปีหลังอนุปริญญา จํานวน 203 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สําเร็จการศึกษาในปี การศึกษา 2551 จํานวน 1,520 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ระเบียนประวัตินักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่ 1 และ ภาคเรียนที่ 2 และข้อมูลนักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2551 วิธีการศึกษาคําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตรวจสอบ คัดลอกเอกสารจากสํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน วิเคราะห์ ข้อมูลภูมิหลัง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยสถิติร้อยละ เปรียบเทียบสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้าศึกษาและหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ด้วยสถิติไคสแควร์ และหาประสิทธิภาพของการผลิตบัณฑิตด้วยสถิติร้อยละของผู้สําเร็จการศึกษาตามกําหนดเวลา ร้อยละของผู้สําเร็จหลังกําหนดเวลา และร้อยละของนักศึกษาที่ออกกลางคัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพภูมิหลังของนักศึกษา เพศ และอายุของนักศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 91.52 มีอายุอยู่ในช่วง 18-21 ปี รองลงมาร้อยละ 7.37 มีอายุอยู่ในช่วง 22-25 ปี และร้อยละ 0.60 มีอายุ อยู่ในช่วงมากกว่า 26 ปีตามลําดับ และถ้าจําแนกตามเพศพบว่าส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิงในคณะ ครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ส่วนคณะที่มีนักศึกษาชายเป็นส่วนใหญ่คือ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภูมิลําเนาของนักศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 50.00 มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา รองลงมาร้อยละ 15.30 มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดสตูลและนราธิวาส ตามลําดับ เมื่อจําแนกตามคณะพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ทุกคณะมีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา ศาสนา นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 55.94 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาร้อยละ 46.50 นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อจําแนกตามคณะ พบว่ามีนักศึกษาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการ จัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ยกเว้นคณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการเกษตรที่นักศึกษาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ระดับผลการเรียนเฉลี่ยก่อนเข้าศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 96.61 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ ในช่วงต่ำกว่า 2.00 รองลงมาร้อยละ 2.88 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-2.99 ตามลําดับ จําแนกตามคณะพบว่าทุกคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 ในภาค เรียนที่ 1 นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 52.10 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00 รองลงมาร้อยละ 23.32 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49 และร้อยละ 17.65 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ ในช่วง 2.50-2.99 ตามลําดับ และถ้าจําแนกตามคณะพบว่าเกือบทุกคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับผล การเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00 ยกเว้นคณะครุศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีระดับ ผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 2 ในภาค เรียนที่ 2 นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 49.44 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00 รองลงมาร้อยละ 27.24 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49 และ ร้อยละ 17.09 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-2.99 ตามลําดับ และถ้าจําแนกตามคณะพบว่าเกือบทุกคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 2.00 ยกเว้นคณะครุศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49 4. การเปรียบเทียบสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้าศึกษาและหลังเข้าศึกษา แล้วในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 สัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาภาคปกติก่อนเข้าศึกษา และหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 ไม่แตกต่างกัน และสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาภาคปกติก่อนเข้าศึกษา และหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 2 ไม่แตกต่างกัน 5. ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาตามเวลารวมทั้งสิ้นจํานวน 1,486 คน โดยเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการที่สําเร็จการศึกษามากที่สุด ร้อยละ 41.72 รองลงมาได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 15.95และ คณะครุศาสตร์ ร้อยละ 12.25 ตามลําดับ นักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาหลังเวลาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ58.82 รองลงมาได้แก่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร้อยละ 29.41 และคณะวิทยาการจัดการ ร้อยละ 45.23 ตามลําดับ ส่วนอัตราการสูญเปล่าทางการศึกษาคิดจากการออกกลางคันของนักศึกษา มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 692 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาของคณะวิทยาการจัดการ ร้อยละ 45.23 รองลงมาได้แก่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 18.35 และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ร้อยละ 12.57 ตามลําดับ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|