ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ธรณัส ทองชูช่วย |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2555 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.615.321 ธ17ภ 2555 |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาเรื่องภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในด้านการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคของอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคของหมอพื้นบ้าน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาวิธีการรักษาโรคด้วยการใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้าน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากหมอพื้นบ้านอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จำนวน 4 คน และพระภิกษุ จำนวน 1 รูป และผู้ป่วย 1 ราย เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการสังเกต แล้วเสนอรายงานการวิจัย ผลของการศึกษา พบว่า 1. ความเชื่อเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค ของหมอพื้นบ้าน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มี 4 ประการ คือ ประการที่ 1 โรคหรือความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำหรืออำนาจของสิ่งเหนือธรรมชาติและเกิดจากสาเหตุธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงแปรปรวนสูญเสียสมดุลของธาตุ 4 ประการที่ 2 ต้องรู้จักชื่อ รูปร่างลักษณะ สี กลิ่น รส และสรรพคุณ ของตัวยาสมุนไพร ที่นำมาใช้ในการรักษาโรค ประการที่ 3 การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคจะต้องรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บ การเตรียมตัวยาสมุนไพร ตลอดถึงวิธีการปรุงยา การใช้ยา และการเก็บรักษายา และประการที่ 4 หลังการรักษาโรคหายแล้วผู้ป่วยจะต้องมาทำพิธีเด็ดพิษ และร่วมพิธีไหว้ครูหมอยาประจำปีที่บ้านของหมอพื้นบ้าน 2. วิธีการรักษาโรคด้วยการใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้าน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา พบว่า ก่อนการรักษาทุกครั้งหมอพื้นบ้านจะทำการตรวจโรคโดยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและจิตใจ เสร็จแล้วจะวินิจฉัยโรค และดำเนินกระบวนการในการรักษาโรคด้วยการใช้สมุนไพร ที่แตกต่างกันไปตามชนิด และลักษณะอาการของโรคหรือความเจ็บป่วยที่ปรากฏ เพื่อมุ่งปรับธาตุทั้ง 4 ให้เกิดความสมดุลเป็นหลัก มีการใช้คาถา และรวมถึงพิธีกรรมตามความเชื่อ มาใช้ในกระบวนการของการบำบัดรักษา มีข้อห้าม/ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยในระหว่างการรักษา และมีการติดตามผลของการรักษาเป็นระยะ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
บทที่2 การทบทวนแนวคิด ทฤษฏี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|