ผลการเสริมขมิ้นชันและพริกป่นต่อสมรรถภาพการผลิตในไก่เนื้อและการถ่ายทอดสู่เกษตรกร อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พรรณี ดวงมะลิ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.636.5 พ17ผ 2555

รายละเอียด: 

การศึกษาผลของการเสริมขมิ้นชันและพริกป่นต่อสมรรถภาพการผลิตในไก่เนื้อ และการถ่ายทอดสู่เกษตรกร อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 การเสริมขมิ้นชันและพริกป่นต่อสมรรถภาพการผลิตในไก่เนื้อ ใช้การทดลอง 2x2 แฟคทอเรียล ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 4 ทรีตเมนต์ มี 4 ซ้ำ ๆ ละ 20 ตัว ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือ ขมิ้นชันที่ระดับ 0 0.1 % ปัจจัยที่สองคือ พริกป่นที่ระดับ 0 0.15% โดยใช้ลูกไก่ จำนวน 320 ตัวแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1. กลุ่มไม่เสริมขมิ้นชันและไม่เสริมพริกป่น กลุ่มที่ 2. เสริมขมิ้นชันและไม่เสริมพริกป่น กลุ่มที่ 3.ไม่เสริมขมิ้นชันและเสริมพริกป่น และกลุ่มที่ 4.เสริมขมิ้นชันและเสริมพริกป่น จากผลการศึกษาช่วง 1-28 วัน พบว่าอิทธิพลร่วมระหว่างขมิ้นชันและพริกป่น ต่อน้ำหนักเริ่มต้น น้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักตัวที่เพิ่ม ปริมาณอาหารที่กินประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการเลี้ยงรอดของไก่ในทุกช่วงอายุ (1-14,15-28,1-28 วัน) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และพบว่าการเสริมขมิ้นชันและพริกป่นไม่ได้ทำให้สมรรถภาพการผลิตดีขึ้นกว่าการไม่เสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในทุกด้านยกเว้นในช่วงอายุ 1-14 วัน ที่พบว่าการเสริมพริกป่นในสูตรอาหารทำให้ปริมาณอาหารที่กินและประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่าการไม่เสริมพริกป่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 2 การถ่ายทอดสู่เกษตรกร อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลการถ่ายทอดสู่เกษตรกรพบว่า เกษตรกรให้การยอมรับสูงในประเด็นการใช้ขมิ้นชันและพริกป่นในการเลี้ยงไก่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ส่วนการยอมรับในระดับปานกลาง ได้แก่ ประเด็นการใช้ขมิ้นชันและพริกป่นในการเลี้ยง ทำให้สัตว์มีสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้ไก่เนื้อโตเร็ว ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงสูง มีความยุ่งยากของการใช้ เกิดประสิทธิภาพของการเลี้ยงและสามารถลดอัตราการตายของไก่ได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลและวิจารณ์การทดลอง

บทที่5 สรุปผล

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย