การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พรรณี นิลสุวรรณ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.พ.372.218 พ17ก 2555

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก่อน – หลัง การใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน 2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 3 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนจิราภรณ์ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน ระยะ เวลาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน จำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้าน เกมการละเล่นพื้นบ้าน แบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.78 และแบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองกับนักเรียนที่มีกลุ่มเดียวโดยมีการทดสอบ ก่อนเรียน- หลังเรียน (One –Group Pretest – Posttest Design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบที (t – test Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า 1. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมและรายด้าน คือ การเปรียบเทียบด้านขนาด จำนวน สัดส่วนและตำแหน่ง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนการจัดประสบการณ์ และหลังจัดประสบการณ์โดยการใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านโดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก ( = 2.96) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อยู่ในระดับมากทุกประเด็น ประเด็นที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ เกมมีความน่าสนใจ นักเรียนมีความสุขในการเล่นเกม ใช้เวลาเหมาะสมในการเล่นเกมบรรยากาศในการเรียนน่าสนใจสนุกสนานและกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียน ( = 3.00) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำว่าประเด็นอื่น ๆ คือ เกมมีภาพประกอบสวยงาม ( = 2.8)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ส่วนหน้า

บทคัดย่อ

สารบัญ

บทที่1 บทนำ

บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย

บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่5 สรุปผล อภิปราผลและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย