การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาภาษาไทย ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค CIRC กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

กรุณา ปางวิภาศ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.495.910712 ก17ก 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R 4) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R 5) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC กับเทคนิค SQ4R 6) เปรียบเทียบความความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัด การเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC กับเทคนิค SQ4R 7) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC และเทคนิค SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสะเดา “ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์” อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 26 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มทดลองสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค CIRC 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิค SQ4R 3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน 4) แบบทดสอบความสามารถในการเขียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC กับเทคนิค SQ4R วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลัง การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการเขียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC และเทคนิค SQ4R แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC และเทคนิค SQ4R แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC อยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R อยู่ในระดับปานกลาง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาภาษาไทย ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค CIRC กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R