ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกัน การเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ชานนท์ มณีศรี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.พ.371.78 ช25ผ 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Design) โดยใช้แบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกันการเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกันการเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด ทักษะชีวิตในการป้องกันการเสพสาร เสพติดในด้านความภาคภูมิใจในตนเอง การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การปฏิเสธ และพฤติกรรมป้องกันการเสพสารเสพติด ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกันการเสพสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานี จำนวน 30 คน ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกันการเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งประยุกต์จากกิจกรรมป้องกันการเสพสารติดในเยาวชนและแนวคิดทักษะชีวิตในการป้องกันการเสพสารเสพติด ร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการกลุ่มประกอบด้วย การบรรยาย การระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การฝึกทักษะ และการแสดงบทบาทสมมติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.735 ความภาคภูมิใจในตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.703 การตัดสินใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.806 การแก้ปัญหา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.737 การปฏิเสธ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.724 และพฤติกรรมป้องกันการเสพสารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.826 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดการสอนและสถิติอ้างอิงโดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ Paired t–test ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกันการ เสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น คือ 80.38/79.91 และกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด ทักษะความภาคภูมิใจในตนเอง ทักษะการตัดสินใจ และทักษะ การปฏิเสธหลังการทดลอง 1 วัน และ 1 สัปดาห์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมป้องกันการเสพสารเสพติด สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนทักษะการแก้ปัญหาพบว่าหลังการทดลองไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อการป้องกัน การเสพสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี