ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ปาริชาติ แก้วทองประคำ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง กลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 2) เปรียบเทียบระดับความเข้มข้นเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง หลังการเข้าร่วมโปรแกรมแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองจริง (True-Experimental research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และแบบสัมภาษณ์วัดความรู้การรับรู้ความเสี่ยงต่อการภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตนเองในการรับประทานอาหารและยา เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ และวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่เป็นจำนวน และร้อยละโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นเลือดของหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม โดยการทดสอบ Dependent t-test และเปรียบเทียบระดับความเข้มข้นเลือดของหญิงตั้งครรภ์ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองโดยการทดสอบIndependent t-test สรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้ 1. หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มทดลองมีผลการเปลี่ยนแปลงของค่าความเข้มข้นเลือด (Hct) ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 2. หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มทดลองมีผลการเปลี่ยนแปลงของค่าความเข้มข้นเลือด ที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ผลของโปรแกรมแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
|