การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ไอนิง เจ๊ะเหลาะ

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.507.12 อ95ก 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ และเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ 2) แบบทดสอบมโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละของระดับความเข้าใจมโนมติ และเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยทดสอบที (t - test) ชนิดตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (dependent sample) จากการวิจัย 1) ระดับความเข้าใจ 7 มโนมติหลัก คือแรง การหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน กฎการเคลื่อนที่ น้ำหนัก กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน แรงเสียดทาน และการนำกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันไปใช้ ผลการศึกษาระดับความเข้าใจมโนมติหลักของนักเรียนเปรียบเทียบก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีระดับความเข้าใจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ก่อนเรียนนักเรียนมีระดับความเข้าใจมโนมติหลายระดับมีตั้งแต่ระดับคลาดเคลื่อนมากไปจนถึงระดับที่มีความเข้าใจที่สมบูรณ์ หลังเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนลดลง และมีความเข้าใจในระดับที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตามลำดับ 2) ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติ เรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ คะแนนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าคะแนนก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถทำให้นักเรียนเข้าใจมโนมติเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่มากขึ้น การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ช่วยให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับมโนมติที่คลาดเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงมโนมติของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการแก้ไขมโนมติที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้