การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยก่อนและหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรม 3) เปรียบ เทียบทักษะการปฏิบัติในการออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย หลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมกับเกณฑ์ และ 4 ) ศึกษาความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม เรื่อง การออก แบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ประเภทวิชา คหกรรม สาขาสาขาวิชาเทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 ห้อง รวมทั้งหมด 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยโดยมีแผนการจัดการฝึกอบรม จำนวน 5 ฉบับ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีองค์ประกอบทั้งหมด 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) โครง สร้างหลักสูตร 4) แนวการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม 5) สื่อการฝึกอบรม 6) ระยะเวลาในการฝึกอบรม 7) เนื้อหาการฝึกอบรม 8) การประเมินผลการฝึกอบรม 9) แผนการฝึกอบรม ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญพบว่าหลักสูตรมีความสอดคล้องเหมาะสม
2. ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 หลังได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร เรื่อง การออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย สูงกว่าก่อนได้รับการฝึก อบรม อย่างมีนัยสำคัญที่ .05
3. ทักษะการปฏิบัติในการออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 หลังฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 หลังฝึกอบรมหลักสูตรการออกแบบเสื้อผ้าสตรีในโอกาสพิเศษโดยเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย อยู่ในระดับมาก
|