การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา: อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

มลจิรา เพชรสงคราม

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา 4) เพื่อเปรียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ตามข้อมูลส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจชนิดการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโดยการกำหนดโควตาร้อยละ 50 ของหมู่บ้านทั้งหมด 19 หมู่บ้าน โดยการจับฉลาก จากนั้นกำหนดโควตาหมู่ละ 40 คน จาก 10 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยการจับฉลากตัวแทนหมู่บ้านละ 40 คน รวมเป็น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 และแบบวัดคุณภาพชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ โดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตตามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ Independen t-test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันและการจัดการความเครียด และการปฏิบัติศาสนกิจ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.50, 38.30, 42.30 และ 40.70 ตามลำดับ การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.20 2) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.50, 45.25, 50.00 และ 45.75 ตามลำดับ โดยมีคุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.00 3) การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (r = 0.22) 4) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุทีมีศาสนา ระดับการศึกษา และรายได้ ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา: อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา