ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ศุภชัย ชัยณรงศ์, ชัยยุทธ มีงาม |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
|
เลขหมู่: |
ว.671.52 ศ46อ |
|
รายละเอียด: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อสมบัติทางกลของอะลูมีเนียมหล่อกี่งของแข็ง SSM 7075 ด้วยการเชื่อมเสียดทานแบบจุด ตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ความเร็วรอบที่ 380, 760, 1240 และ 2500 รอบ/นาที และเวลาในการกดแช่ 60, 90 และ 120 วินาที ตามลำดับ โดยผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพผิวหน้าด้านบนรอยเชื่อมในทุกสภาวะเกิดการประสานกันดีในรอยเชื่อม ชิ้นงานเชื่อมสามารถยึดติดกันได้ดี ดังนั้นกรรมวิธีการเชื่อมเสียดทานแบบจุดนั้นสามารถเพิ่มค่าความแข็ง และความแข็งแรงดึงเฉือนหลังการเชื่อมเสียดทานแบบจุดอยู่ที่บริเวณเนื้อเชื่อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 115.18 HV ซึ่งมีค่าความแข็งสูงกว่าเนื้อโลหะเดิม คิดเป็น 27.7 เป็อร์เซ็นต์ เมื่อค่าความแข็งเนื้อโลหะเดิม มีค่าเฉลี่ยที่ 90.2 HV ส่วนค่าความแข็งแรงดึงเฉือนของชิ้นงานที่ผ่านกรรมวิธีการเชื่อมเสียดทานแบบจุด มีความแข็งแรงดึงเฉือนสูงสุดอยู่ที่ 199.3 MPa ที่ความเร็วรอบ 1240 รอบ/นาที ระยะเวลาในการกดแช่ 120 วินาที และระยะกดลึก 2 มิลลิเมตร และความแข็งแรงดึงเฉือนต่ำสุดที่ 98.7 MPa ได้จากตัวแปรที่ความเร็วรอบ 1240 รอบ/นาที ระยะเวลาในการกดแช่ 90 วินาที และระยะกดลึก 2 มิลลิเมตร จะเห็นได้ว่ากรรมวิธีการเชื่อมเสียดทานแบบจุดนั้นสามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของอะลูมีเนียมที่ผ่านการหล่อกึ่งของแข็งได้ และเมื่อวิเคราะห์เชิงสถิติ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ R2 เท่ากับ 93.50 เปอร์เซ็นต์ สามารถควบคุมได้ และส่วนที่เหลือประมาณ 6.50 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
อิทธิพลของตัวแปรที่ส่งผลต่ออะลูมิเนียม Al-Zn ด้วยการเชื่อมเสียดทานแบบจุด |
|