การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็น สำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน ( Factor Analysis of Necessary Computer Information Communication and Technology Literacy for Teachers in ASEAN Countries )

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เพ็ญพักตร นภากุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.338.642 ค16ผ

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน 2) เพื่อศึกษาระดับการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียนของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัด เขตการศึกษาพื้นที่มัธยมศึกษาใน จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล ปี พ.ศ. 2557 จำนวนครู 300 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามองค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบเชิงสำรวจและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติ KMO (Kaiser-Meyer Olkin measure of sampling adequacy) และ Bartlett’s test of sphericity และวัดความเหมาะสมของข้อมูลโดยใช้วิธีการหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอล (Orthogonal rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ความรู้พื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น 3) ความรู้พื้นฐานด้านโปรแกรมและอุปกรณ์ร่วม 4) เจตคติต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ 5) เจตคติต่อผลกระทบจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ 6) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดต่อสื่อสาร 7) ทักษะการรู้สารสนเทศและการใช้แหล่งเรียนรู้บนเว็บ 8) ทักษะการจัดการข้อมูล เอกสารและการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ ระยะที่ 2 การศึกษาระดับการรู้คอมพิวเตอร์ ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 326 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 4 มีระดับการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้านความรู้ความเข้าใจ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (= 3.45) ด้านเจตคติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.91) และด้านทักษะ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (= 3.49)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์