การศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจ สำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า ( Research and Develop respiratory training tool for Winds Instrumentalist )

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

พัชรี สุวรรณธาดา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่องการศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจสำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาการหายใจสำหรับนักดนตรีเครื่องเป่า 2)เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการฝึกการหายใจ ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ทำให้นักดนตรีประเภทเครื่องลม สามารถเข้าถึงการใช้นวัตกรรม 3)เพื่อทดสอบเปรียบเทียบผลการใช้งานนวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจก่อนใช้และหลังใช้เครื่องมือ โดยศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกการหายใจที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จากนั้นเลือกเครื่องมือต้นแบบมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจซึ่งมีราคาถูกและเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในท้องที่ จากนั้นนำนวัตกรรมที่ได้มาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนดนตรี อายุตั้งแต่ 12-25ปี จำนวน 25คน เป็นเวลา 1เดือน โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และทดสอบสมรรถภาพการหายใจด้วยการเป่าโน้ตยาว และจับเวลาที่สามารถทำได้ (Long Tone) ก่อนและหลังการทดลองใช้นวัตกรรม ขอบเขตของการวิจัยคือการเพิ่มปริมาตรอากาศที่มากที่สุดของการหายใจออกหลังจาก ที่มีการหายใจเขามากที่สุด ผลการวิจัยพบว่าค่า t-Stat เท่ากับ7.416523ซึ่งมีค่ามากกว่า t Critical one-tail ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.492159 สามารถนำมาทดสอบสมมติฐานได้ผลคือ ปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H ) คือ สมรรถภาพการหายใจก่อนใช้ 0 นวัตกรรมและหลังใช้นวัตกรรม ไม่มีความแตกต่างกัน และยอมรับสมมติฐานรองคือ สมรรถภาพการหายใจ หลังใช้นวัตกรรมสูงกว่าสมรรถภาพการหายใจก่อนใช้นวัตกรรม ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.1 กล่าวโดยสรุปคือ หลังจากกลุ่มตัวอย่างใช้นวัตกรรมฝึกการหายใจสำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจ สำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า