การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (Cultural Adaptation That Affect to Sense of Coherence of the Muslim Bachelor Student in Songkhla Rajabhat University)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ไหมไทย ไชยพันธ์ุ, จิระสุข สุขสวัสดิ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.302.14 ห96ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวทางวัฒนธรรมกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมสามารถทำนายแนวโน้มความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามุสลิมที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจำนวน 305คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ โดยแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษามีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกสอดคล้อง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.16 การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการปฏิบัติศาสนกิจ การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการบริโภคอาหาร และการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .14, .20, .13 และ .34 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.09 และการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการทักทายและการทำความเคารพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .06 ตัวพยากรณ์ที่ดีที่สามารถทำนายความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คือ ตัวแปรการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอด และตัวแปรการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอด มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร เท่ากับ .26 การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษา มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร เท่ากับ -.06

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา