ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
พีรพงษ์ พันธะศรี |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
|
เลขหมู่: |
ว.738.3 พ37ค |
|
รายละเอียด: |
ในภาคใต้ของประเทศไทยมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอยู่หลายแห่ง จังหวัดสงขลาเองก็มีชุมชนที่มีชื่อเสียงในด้านเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองคือชุมชนบ้านสทิงหท้อ แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการมีจำนวนลดน้อยลงซึ่งส่งผลให้เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านรวมถึงเทคนิควิธีการผลิตเคร่องปั้นดินเผาที่ได้สร้างสมสืบต่อกันมาจนเกิดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในเรื่องของการใช้วัสดุของท้องถิ่นในที่นี้ก็คือ ดิน อาจสูญหายได้ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านโดยมีหลักการคิด คือการต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยไว้ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบเครื่องปั้นดินเผาในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงกระบวนการผลิตของชาวสทิงหม้อซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม 3) เพื่อพัฒนาดินและศึกษารูปแบบ แนวคิด เทคนิค วิธีการ ในการทำเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพาราและเถาวัลย์โดยต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และ4) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ตามกรอบการศึกษาวัสดุและกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับไม้ยางพาราแะเถาวัลย์ในท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง คือกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาหมู่บ้านสทิงหม้อ หมู่ที่ 4 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 1 คน กลุ่มผู้ประกอบการที่ขายสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผาในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 5 ร้านค้า และกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรออกแบบ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา รายวิชาวัสดุและกรรมวิธี และรายวิชาออกแบบของที่ระลึก จำนวน 24 คน จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ลักษณะทางการยภาพของพืชประเภทเครือเถาที่มีในท้องถิ่นมีคุณค่าความงามในหลายด้าน เช่น พื้นผิว ลีลา หรือเส้น และการบิดพัน นอกจากนี้ยังพบว่าเครือเถาวัลย์ได้เข้ามามีบทบาทในงานศิลปะประเภทสถาปัตยกรรม และศิลปประยุกต์ ส่วนการศึกษาไม้ยางพาราในท้องถิ่นพบว่ามีการนำไม้ยางพารามาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ผู้วิจัยเลือกใช้ยางพาราที่ผ่านการใช้งานแล้ว เช่น ไม่พาเลท เนื่องจากมีราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่นและในส่วนของแรงบันดาลใจในการออกแบบ ผู้วิจัยได้ออกแบบโดยมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น พืชและสัตว์ในท้องถิ่นและแรงบันดาลใจจากรูปทรงผลิตภัณฑ?แบบดั้งเดิมของชาวสทิงหท้อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพาราและเถาวัลย์ในครั้งนี้ ผลสรุปจากการพัฒนาดินให้สอดคล้องกับเทคนิคการเผาของผู้วิจัยในโครงการวิจัยเครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพาราและเถาวัลย์ในจังหวัดสงขลา ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า ดินที่ผสมตามสัดส่วน ดินพื้นบ้าน : ดินเชื้อ ในอัตราส่วน 70 : 30 สามารถคงรูปได้เมื่อนำไปเผาแล้วทนความร้อน ไม่แตกหักสามารถขึ้นรูปด้วยรูปทรงที่ซับซ้อนได้และใช้งานได้จริง กรรมวิธีการผลิตสามารถผลิตได้โดยช่างพื้นบ้านนำไปต่อยอดเพื่อการผลิตและจำหน่ายได้ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาประกอบไม้ยางพารา และเถาวัลย์ในจังหวัดสงขลา |
|