งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการชาวไทยกับชาวมาเลเซีย ประเภทสินค้าและบริการที่ชาวมาเลเซียเข้าใช้บริการที่เมืองชายแดน และสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods) โดยวิธีเชิงปริมาณ (quantitative approach) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ในตลาดด่านนอก และตลาดหาดใหญ่ ตลาดละ 400 คน ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (accidental sampling) โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สำหรับวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative approach) ใช้การสัมภาษณ์ สังเกต หน่วยงานราชการ เอกชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน โดยมีผลการวิจัยที่สำคัญ ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 30-45 ปี ในตลาดหาดใหญ่ และอายุมากกว่า 45 ปีในตลาดด่านนอก นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นอิสลาม มีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลา การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี พฤติกรรมการค้าส่วนใหญ่ค้าปลีก สินค้าได้แก่เสื้อผ้า รองลงมาเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ท าการค้ามานานมากกว่า 5 ปี ภาษาเพื่อการค้าขาย คือ ภาษามาเลเซีย รองลงมาภาษาไทย ในตลาดด่านนอก ส่วนตลาดหาดใหญ่ ภาษาไทย รองลงมาภาษาจีน ภาษามาเลเซีย ตามล าดับ สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าผลิตในประเทศไทย ใช้เงินสด สกุลบาทและริงกิต ชาวมาเลเซียนิยมซื้อเสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภค บริการท่องเที่ยว โดยมาซื้อด้วยตนเอง ปัญหาการค้าชายแดน ผู้ประกอบการกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนริงกิตที่อ่อนค่าลง ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง การขนส่งของไทยมีปัญหาไม่สะดวกเหมือนมาเลเซีย การกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี โควตาสินค้าผ่านแดน จำกัดการนำเข้าข้าวสารต้องผ่านเฉพาะด่านสะเดา แนวทางแก้ไข การเร่งสร้างทางคมนาคมในไทยให้สามารถเชื่อมโยงกับทางประเทศมาเลเซีย |